นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบหลักฐานของสัตว์ชนิดแรกของโลก ที่มีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 635 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงก่อนสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์อีกคณะหนึ่งค้นพบซากฟอสซิลงูยักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบในประเทศโคลัมเบีย
คุณ Love บอกว่า มีสสารตามธรรมชาติบางอย่าง ที่ฟองน้ำผลิตออกมาซึ่งมีโครงสร้างที่มีลักษณะเฉพาะ แม้จะถูกตะกอนทับถมอยู่ใต้ทะเลเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี และโครงสร้างโมเลกุลได้แปรสภาพไปเล็กน้อย แต่ก็ยังคงสามารถเห็นรูปรอยโครงสร้างพื้นฐาน ที่บ่งบอกได้ว่าถูกสร้างขึ้นโดยฟองน้ำโบราณ นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ระบุว่าสัตว์เก่าแก่ที่สุดของโลกชนิดนี้ อาศัยอยู่ใต้ทะเลและมีขนาดเพียงไม่กี่มิลลิเมตร เวลานี้นักวิจัยกำลังสำรวจว่า
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในช่วงยุคน้ำแข็ง คือสาเหตุที่ทำให้ระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และส่งผลให้ฟองน้ำโบราณขยายพันธ์ใช่หรือไม่ คุณ Gordon Love กล่าวว่าคำถามต่อไปก็คือ ฟองน้ำโบราณมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคน้ำแข็งหรือหลังยุคน้ำแข็ง และเพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของโลก ในช่วงที่สัตว์โบราณชนิดนี้ก่อกำเนิด สำหรับรายงานการค้นพบเรื่องสัตว์เก่าแก่ที่สุดในโลกนี้นี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด และในวารสารฉบับเดียวกันยังมีเรื่องการค้นพบซากฟอสซิลสัตว์อีกชนิดหนึ่งด้วย
ที่ประเทศโคลัมเบีย คณะนักวิทยาศาสตร์พบซากฟอสซิลกระดูกของงูขนาดใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบ โดยคาดว่าเจ้างูยักษ์นี้มีน้ำหนักมากกว่า 1 พันกิโลกรัมและมีความยาวประมาณ 13 เมตรซึ่งพอๆ กับรถโดยสาร 1 คันเลยทีเดียว
นักวิจัยบอกว่าสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายงูเหลือมนี้ ชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 60 ล้านปีที่แล้วในป่าฝนบริเวณที่ปัจจุบันเป็นประเทศโคลัมเบีย นักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อเจ้างูยักษ์นี้ว่า งูเหลือมไททานิคแห่งเซอเรจอน
คาดว่างูเหลือมไททานิคยักษ์นี้ อาจกินสัตว์คล้ายจระเข้ในบริเวณนั้นเป็นอาหาร และใช้ชีวิตคล้ายกับงูยักษ์อนาคอนด้าในปัจจุบัน คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ และจะใช้ตัวบีบรัดเหยื่อก่อนที่จะกลืนกิน
นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบหลักฐานของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ลักษณะคล้ายฟองน้ำซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 635 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเก่าแก่กว่ายุคไดโนเสาร์ถึง 403 ล้านปี และก่อนยุคที่นักวิทยาศาสตร์ เคยตั้งสมมติฐานไว้ว่าเป็นช่วงที่สัตว์ชนิดแรก ก่อเกิดบนโลกถึง 100 ล้านปี
คุณ Gordon Love นักธรณีวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตริเวอร์ไซด์ นำคณะนักสำรวจขุดพบซากฟอสซิลดังกล่าว ในหินชั้นก้นทะเลทางใต้ของประเทศโอมาน ในรูปของสารสเตียรอยด์ซึ่งเป็นสารทางชีวเคมี ในเยื่อหุ้มเซลล์ของฟองน้ำชนิดนี้
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในช่วงยุคน้ำแข็ง คือสาเหตุที่ทำให้ระบบนิเวศน์เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และส่งผลให้ฟองน้ำโบราณขยายพันธ์ใช่หรือไม่ คุณ Gordon Love กล่าวว่าคำถามต่อไปก็คือ ฟองน้ำโบราณมีชีวิตอยู่ในช่วงยุคน้ำแข็งหรือหลังยุคน้ำแข็ง และเพื่อศึกษาให้เข้าใจถึงสภาพแวดล้อมของโลก ในช่วงที่สัตว์โบราณชนิดนี้ก่อกำเนิด สำหรับรายงานการค้นพบเรื่องสัตว์เก่าแก่ที่สุดในโลกนี้นี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร Nature ฉบับล่าสุด และในวารสารฉบับเดียวกันยังมีเรื่องการค้นพบซากฟอสซิลสัตว์อีกชนิดหนึ่งด้วย
เจ้างูยักษ์ตัวนี้มีชื่อว่า “Titanoboa cerrejonensis”
คาดว่างูเหลือมไททานิคยักษ์นี้ อาจกินสัตว์คล้ายจระเข้ในบริเวณนั้นเป็นอาหาร และใช้ชีวิตคล้ายกับงูยักษ์อนาคอนด้าในปัจจุบัน คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในน้ำ และจะใช้ตัวบีบรัดเหยื่อก่อนที่จะกลืนกิน
สำหรับฟอสซิลงูยักษ์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ค้นพบก่อนหน้านี้มีความยาวประมาณ 11 เมตร ซึ่งคาดว่ามีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 40 ล้านปีที่แล้วที่อียิบต์ในขณะที่งูสายพันธ์ปัจจุบันที่มีความยาวมากที่สุดนั้น ยาวประมาณ 9 เมตร