การเลือกซื้อปลา(Buying fish.) ต้องสังเกตอย่างไร
ปลาเป็นอาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ หาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา การแยกประเภทปลา แยกง่ายๆ คือ ปลาน้ำจืด ปลาทะเล ปลาเป็นที่นิยมในผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และรักสุขภาพ ซึ่งการแยกปลาไม่เพียงจะแยกตามแหล่งของปลา หรือแยกตามปริมาณไขมันในปลาแต่ละชนิด ซึ่งไขมันนี่เองที่ทำให้รสชาติของปลาแตกต่างกันไป
การเลือกซื้อปลา
1.เหงือกมีสีสด
2.ตาปลาต้องใส
3.เกล็ดและหนังไม่ขุ่น
4.เนื้อแน่น เมื่อกดดูไม่บุ๋มตามรอยนิ้วมือ
5.เนื้อไม่แข็งทื่อ
6.ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
7.เหงือกมีสีสด
วิธีการล้างปลาสดให้หมดเมือกและกลิ่นคาว มีหลายวิธี ลองดูกัน
ล้างน้ำเปล่าธรรมดา แต่เน้นที่ความแรงของน้ำ
ล้างด้วยน้ำผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ล้างด้วยการนำมะนาวฝานเป็นชิ้นมาถูที่เนื้อปลา แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ล้างด้วยน้ำส้มมะขามเปียก แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
การเก็บรักษา
ควรทำความสะอาดปลาก่อน กล่าวคือ ต้องขอดเกล็ดออกให้หมด ถ้าไม่มีเกล็ดต้องขูดเมือกออก ดึงเหงือกและควักไส้ออก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น ใส่กล่องพลาสติก ปิดฝา นำเข้าช่องแช่แข็ง
ปลาที่ไม่มีไขมัน หรือมีไขมันน้อย
-มีไขมันต่ำกว่า 2% เนื้อปลาพวกนี้จะมีสีขาว เช่น ปลากะพง ปลาจาละเม็ด ปลาสำลี ปลาเนื้ออ่อน ปลากราย ฯลฯ
-ปลาไขมันปานกลาง
มีไขมันตั้งแต่ 2-5% เช่น ปลาอินทรี ปลาตะเพียน ปลาดุก ฯลฯ
-ปลาไขมันสูง
มีไขมันมากกว่า 5% ส่วนมากจะมีเนื้อสีเหลือง ชมพู หรือเทาอ่อน เช่น ปลาเทโพ ปลาสวาย ปลาไหลทะเล เป็นต้น
ปลามีโปรตีนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์อื่น แต่เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันในปลา นอกจากจะต่ำ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งไม่สะสมในหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบตัน และยังช่วยไล่ไขมันเลว ไม่ให้มาเกาะตามผนังหลอดเลือดอีกด้วย นอกจากนี้ ปลายังมีวิตามินสูง โดยเฉพาะเอ บี1 บี2 บี6 และดี ปลาจึงเหมาะกับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจ
ปลาเป็นอาหารที่มีสารอาหารประเภทโปรตีนสูง แต่ไขมันต่ำ หาซื้อได้ง่ายในบ้านเรา การแยกประเภทปลา แยกง่ายๆ คือ ปลาน้ำจืด ปลาทะเล ปลาเป็นที่นิยมในผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก และรักสุขภาพ ซึ่งการแยกปลาไม่เพียงจะแยกตามแหล่งของปลา หรือแยกตามปริมาณไขมันในปลาแต่ละชนิด ซึ่งไขมันนี่เองที่ทำให้รสชาติของปลาแตกต่างกันไป
การเลือกซื้อปลา
1.เหงือกมีสีสด
2.ตาปลาต้องใส
3.เกล็ดและหนังไม่ขุ่น
4.เนื้อแน่น เมื่อกดดูไม่บุ๋มตามรอยนิ้วมือ
5.เนื้อไม่แข็งทื่อ
6.ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
7.เหงือกมีสีสด
วิธีการล้างปลาสดให้หมดเมือกและกลิ่นคาว มีหลายวิธี ลองดูกัน
ล้างน้ำเปล่าธรรมดา แต่เน้นที่ความแรงของน้ำ
ล้างด้วยน้ำผสมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ล้างด้วยการนำมะนาวฝานเป็นชิ้นมาถูที่เนื้อปลา แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
ล้างด้วยน้ำส้มมะขามเปียก แล้วตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง
การเก็บรักษา
ควรทำความสะอาดปลาก่อน กล่าวคือ ต้องขอดเกล็ดออกให้หมด ถ้าไม่มีเกล็ดต้องขูดเมือกออก ดึงเหงือกและควักไส้ออก ล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น ใส่กล่องพลาสติก ปิดฝา นำเข้าช่องแช่แข็ง
ปลาที่ไม่มีไขมัน หรือมีไขมันน้อย
-มีไขมันต่ำกว่า 2% เนื้อปลาพวกนี้จะมีสีขาว เช่น ปลากะพง ปลาจาละเม็ด ปลาสำลี ปลาเนื้ออ่อน ปลากราย ฯลฯ
-ปลาไขมันปานกลาง
มีไขมันตั้งแต่ 2-5% เช่น ปลาอินทรี ปลาตะเพียน ปลาดุก ฯลฯ
-ปลาไขมันสูง
มีไขมันมากกว่า 5% ส่วนมากจะมีเนื้อสีเหลือง ชมพู หรือเทาอ่อน เช่น ปลาเทโพ ปลาสวาย ปลาไหลทะเล เป็นต้น
ปลามีโปรตีนใกล้เคียงกับเนื้อสัตว์อื่น แต่เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ไขมันในปลา นอกจากจะต่ำ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ยังเป็นไขมันที่ไม่อิ่มตัว ซึ่งไม่สะสมในหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดเกิดการตีบตัน และยังช่วยไล่ไขมันเลว ไม่ให้มาเกาะตามผนังหลอดเลือดอีกด้วย นอกจากนี้ ปลายังมีวิตามินสูง โดยเฉพาะเอ บี1 บี2 บี6 และดี ปลาจึงเหมาะกับผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคหัวใจ
เรียบเรียงข้อมูลเพิ่มเติมโดย menmen