ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

คลิปสปริงเงอร์ สัตว์โลกแปลกๆที่ได้สมญานามว่านักกระโดดหน้าผา


คลิปสปริงเงอร์ สัตว์โลกแปลกๆที่ได้สมญานามว่านักกระโดดหน้าผา

ก็อย่างว่านะครับโลกนี้มีอะไรที่แปลกประหลาดและที่เรายัวไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นอีกมากมายโดยเฉพาะสัตว์แปลกๆบางตัวก็สูญพันธุ์ไปแล้วบางตัวก็กำลังสูญพันธุ์ไปเหมือนกัน

วันนี้เราก็มีสัตว์ประหลาดหน้าตาแปลกๆที่ชื่อว่าคลิปสปริงเงอร์ มานำเสนอนะครับมันจะเป็นยังไงแล้วมันเป็นสัตว์ที่ได้สมญานามว่า นักกระโดดหน้าผา จริงหรือเปล่า...ไม่รู้ว่าใครมันตั้งชื่อมาบางทีก็เจ้าตัวนี้กระโดดหน้าผา อาจพลาดตกลงมาตายก็น่าจะมีนะครับ คลิปสปริงเงอร์ 


คลิปสปริงเงอร์ (อังกฤษ: Klipspringer; ชื่อวิทยาศาสตร์: Oreotragus oreotragus) เป็นแอนทิโลปขนาดเล็ก ในกลุ่มแอนทิโลปแคระ หรือแอนทิโลปเล็ก

คลิปสปริงเงอร์จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Oreotragus โดยได้รับการอนุกรมวิธานครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1783 โดยเอเบอร์ฮาร์ด เอากุสท์ วิลเฮล์ม ฟอน ซิมเมอร์มันน์ นักสัตววิทยาชาวเยอรมัน ชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า "กลิปสปริงเงอร์" (klipspringer) มาจากการประสมกันของคำในภาษาแอฟริคานส์ว่า klip ("หิน") กับ springer ("ผู้กระโดด", "ผู้ผาดโผน") รวมความแล้วแปลว่า "นักกระโดดหน้าผา" และมีอีกชื่อหนึ่งคือ "กลิปโบก" (klipbok)

และอาจเรียกชื่อสามัญในภาษาไทยได้ว่า "กวางผา" แต่เป็นสัตว์ต่างประเภทกับกวางผาที่พบในทวีปเอเชีย แม้จะอยู่ในวงศ์เดียวกันก็ตาม 

ลักษณะและพฤติกรรม
ตัวผู้มีน้ำหนักตัวประมาณ 10 กิโลกรัม ตัวเมีย 13 กิโลกรัม ความสูง 50–55 เซนติเมตร จากกีบเท้าถึงไหล่ ความยาวลำตัว 80 เซนติเมตร–1 เมตร ความยาวหาง 8 เซนติเมตร อายุโดยเฉลี่ย 10–12 ปี มีเขาเฉพาะตัวผู้เท่านั้น ขนาดความยาว 20–25 เซนติเมตร มีความเรียวแหลม ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เล็กน้อย ไม่มีเขา มีขนสีต่าง ๆ ออกไป เช่น เหลือง, น้ำตาลแดง, เทา แตกต่างออกไปตามภูมิประเทศเพื่ออำพรางตัว โดยมีจุดอ่อนคือสีขาว


คลิปสปริงเงอร์ เป็นแอนทิโลปที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก สามารถกระโดดไปมาตามโขดหินได้อย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากกีบเท้ามีลักษณะพิเศษทำให้เกาะติดบนพื้นหินได้อย่างมั่นคง ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่เป็นคู่ เมื่อมีลูกจะซ่อนลูกไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อความปลอดภัย โดยเป็นสัตว์ที่มีความสามารถกระโดดได้สูงมากเป็นพิเศษ โดยกระโดดได้สูงคิดเป็น 15 เท่าของความสูงของตัว หรือประมาณ 7 เมตร ซึ่งเมื่อเทียบกับมนุษย์แล้วจะเท่ากับว่ากระโดดจากไหล่ของเทพีเสรีภาพข้ามคบเพลิงซึ่งเป็นจุดสูงสุดได้เลย

อาศัยอยู่ตามภูมิประเทศที่เป็นโขดหินหรือภูเขาหินที่มีต้นไม้ขึ้นประปราย อาศัยอยู่ได้ทั้งในพื้นที่แห้งแล้งและพื้นที่ชุ่มชื้น อาหารหลักได้แก่ ใบไม้อ่อน ๆ, รากไม้, ดอกไม้, ผลไม้ และหญ้าที่ขึ้นใหม่ในช่วงฤดูฝน เป็นสัตว์ที่จะไม่ดื่มน้ำโดยตรง แต่จะอาศัยความชื้นจากพืชพรรณต่าง ๆ ที่กินขึ้นไปแทนหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้สามารถอดน้ำได้เป็นระยะเวลานาน ๆ 

เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน โดยเฉพาะในช่วงกลางดึกและจะกระฉับกระเฉงมากเป็นพิเศษในคืนเดือนหงายหรือคืนวันเพ็ญ จะเริ่มหลับนอนพักผ่อนเมื่อใกล้สาง ในเวลากลางวันมักนอนอาบแดดเพื่ออบอุ่นร่างกาย

จากการศึกษาทางด้านวงศ์วานวิวัฒนาการ พบว่าคลิปสปริงเงอร์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเคิร์กดิก-ดิก (Madoqua kirkii) และซูนี (Neotragus moschatus) ซึ่งเป็นแอนทิโลปขนาดเล็กเหมือนกัน โดยวิวัฒนาการมาแล้วเกือบ 14 ล้านปี


การกระจายพันธุ์และความหลากหลาย
พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในเอธิโอเปีย, เคนยา, แทนซาเนีย, นามิเบีย และแอฟริกาใต้ และสูญพันธุ์ไปแล้วที่บุรุนดี โดยจำแนกออกได้เป็น 11 ชนิดย่อย ดังนี้:


O. o. aceratos Noack, 1899 : คลิปสปริงเงอร์แทนซาเนียใต้ หรือโนอากคลิปสปริงเงอร์ พบกระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออกและแอฟริกาใต้ ระหว่างแม่น้ำรูฟิจิ และแซมเบซี
O. o. aureus Heller, 1913 : คลิปสปริงเงอร์สีทอง พบในเคนยา
O. o. centralis Hinton, 1921 : คลิปสปริงเงอร์แซมเบีย พบในภูมิภาคแอฟริกากลางและแอฟริกาใต้
O. o. oreotragus (Zimmermann, 1783) : เคปคลิปสปริงเงอร์ พบในแหลมกูดโฮป, แอฟริกาใต้
O. o. porteousi Lydekker, 1911 : พบในแอฟริกากลาง
O. o. saltatrixoides (Temminck, 1853) : คลิปสปริงเงอร์เอธิโอเปีย พบในที่ราบสูงเอธิโอเปีย
O. o. schillingsi Neumann, 1902 : คลิปสปริงเงอร์มาไซ พบในแอฟริกาตะวันออก
O. o. somalicus Neumann, 1902 : คลิปสปริงเงอร์โซมาลี พบในตอนเหนือของโซมาเลีย
O. o. stevensoni Roberts, 1946 คลิปสปริงเงอร์สตีเวนสัน พบในตะวันตกของซิมบับเว


O. o. transvaalensis Roberts, 1917 : คลิปสปริงเงอร์ทรานส์เวล พบในที่ราบสูงแอฟริกาใต้และดราเกนสเบอร์ก
O. o. tyleri Hinton, 1921 : คลิปสปริงเงอร์แองโกลัน พบในนามิเบีย

รายการบล็อกของฉัน