ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ภาวะโลกร้อน ภัยแล้งเผยให้เห็น ร่องรอย ‘รอยเท้าไดโนเสาร์’ อายุ 110 ล้านปีในแม่น้ำเท็กซัส


🌀ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีภาวะอากาศแปรปรวนโลกร้อนภัยแล้ง หลายๆประเทศเกิดภัยแล้งภาวะโลกร้อนแห้งแล้งแม่น้ำเหือดแห้งโดยเฉพาะแถบยุโรปอังกฤษฝรั่งเศสรวมไปจนถึงสหรัฐอเมริกาและอีกหลายๆประเทศเมื่อเกิดภาวะแห้งแล้งแม่น้ำต่างๆเหือดแห้งลง

🙄บางทีมันก็เผยให้เห็นอะไรบางอย่างที่เป็นประวัติศาสตร์ของโลกขึ้นมาได้โดยเฉพาะบทความที่ผมจะนำเสนอนี้คุณอ่านแล้วก็ลองจินตนาการตามไปนะครับ

👉🏿ภาวะโลกร้อน ภัยแล้งเผยให้เห็น ร่องรอย ‘รอยเท้าไดโนเสาร์’ อายุ 110 ล้านปีในแม่น้ำเท็กซัส


🙄ภัยแล้งเผยให้เห็น ‘รอยเท้าไดโนเสาร์’ อายุ 110 ล้านปีในแม่น้ำเท็กซัส
ในช่วงที่ผ่านมาความแห้งแล้งที่รุนแรง ได้เผยให้เห็นสิ่งที่ผู้คนไม่เคยเห็นมานาน นั้นคือศพและเรือที่จมอยู่ก้นแม่น้ำ แต่มันก็ไม่ได้เลวร้ายไปทั้งหมด เพราะความแห้งแล้งนี้ ได้เผยให้เห็นรอยเท้าไดโนเสาร์ชุดหนึ่ง ซึ่งอยู่ใน Dinosaur Valley State Park ในเท็กซัส

👉🏾รอยเท้าขนาดยักษ์นี้ เพิ่งถูกเปิดเผยหลังจากภัยแล้งที่ทำให้แม่น้ำ Paluxy แห้ง อ้างจากคลิปวิดีโอที่เผยแพร่โดย Friends of Dinosaur Valley State Park

รอยเท้าแต่ละรอยมีรอยกรงเล็บฝังลึกอยู่สามรอย เชื่อกันว่าเป็นรอยเท้าที่เกิดขึ้นจากโดยเทอโรพอด (theropod) ซึ่งเป็นกลุ่มของไดโนเสาร์สองเท้าที่มีความหลากหลายซึ่งรวมถึง ไทแรนโนซอรัสเร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) และอัลโลซอรัส (Allosaurus)


👉🏿อย่างไรก็ตาม รอยใหม่เหล่านี้น่าจะเป็นของแอโครแคนโทซอรัส (Acrocanthosaurus) ซึ่งเป็นสัตว์กินเนื้อขนาดมหึมาซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ 113 – 110 ล้านปีก่อน ไดโนเสาร์ชนิดนี้สามารถโตได้ยาวถึง 11 เมตร (36 ฟุต) และรอยเท้านี้มีความยาวมากกว่า 30 เซนติเมตร (1 ฟุต) วัดจากส้นเท้าถึงกรงเล็บ

👉🏿Dinosaur Valley State Park เปรียบเสมือนทางหลวงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคครีเทเชียสตอนต้น บริเวณนี้ตั้งอยู่ใกล้กับเมือง Glen Rose ในรัฐเท็กซัส ปัจจุบันมีสถานที่หลัก 5 แห่งที่มีรอยเท้าของทั้ง theropods และ sauropods ซึ่งเป็นไดโนเสาร์สี่ขาที่มีจุดเด่นที่คอยาว

สาระข้อมูลเพิ่มเติม
เทโรพอด (อังกฤษ: theropod, ออกเสียง: /ˈθɛrəpɒd/) เป็นไดโนเสาร์พวกซอริสเซียน(สะโพกกิ้งก่า) เทโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือสไปโนซอรัส ที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา และเล็กที่สุดคือไมโครแรปเตอร์ ที่พบในประเทศจีน 


นอกจากนี้เทโรพอดยังเป็นไดโนเสาร์พวกที่เก่าแก่ที่สุดในโลกด้วย 

โดยพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดคืออีโอแร็พเตอร์ ที่อาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ เมื่อ 229 ล้านปีก่อน เทโรพอดชนิดแรกที่ค้นพบคือเมกะโลซอรัส โดยพวกเทอราพอดนี้มีญาติคือซอโรพอด เทโรพอดส่วนใหญ่จะเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ แต่ก็มีพันธุ์ที่เป็นไดโนเสาร์กินพืชอย่างเทอริสิโนซอรัส เทโรพอดมีชีวิตอยู่เมื่อ 229-65 ล้านปีก่อน มีพันธุ์ที่มีชื่อเสียงหลายพันธุ์เช่นไทรันโนซอรัส อัลโลซอรัส ไจกาโนโทซอรัส คาร์โนทอรัส หรือสไปโนซอรัส


โดยทั่วไปเทโรพอดยุคแรกจะตัวเล็กและจะค่อยๆวิวัฒนาการ จนกลายเป็นเทโรพอดขนาดใหญ่ เทโรพอดยุคแรกเริ่มจะมีหัวเล็กเมื่อเทียบกับลำตัว แต่เทโรพอดยุคปลายจะมีหัวใหญ่และมีแขนสั้นยาวไทรันโนซอรัส หรือ คาร์โนทอรัส ซึ่ง 2 ชนิดนี้อยู่ในยุคครีเทเชียส เทโรพอดขนาดใหญ่ได้แก่สไปโนซอรัส ไทรันโนซอรัส ทาร์โบซอรัส อัลโลซอรัส ส่วนขนาดเล็กจะมีคอมซอกนาทัส เวโลซีแรปเตอร์ ไมโครแรปเตอร์

รายการบล็อกของฉัน