ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

เครื่องดนตรีเปลือกหอยโบราณ ยังคงเล่นเพลงได้ หลังจากผ่านกาลเวลามาแล้ว18,000 ปี

เครื่องดนตรีเปลือกหอยโบราณ ยังคงเล่นเพลงได้ หลังจากผ่านกาลเวลามาแล้ว18,000 ปี

ภาพถ่ายของเครื่องดนตรีเปลือกหอยขนาด 12 นิ้วสองด้าน โดยนักวิจัย Carole Fritz ในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 / Cr.arole Fritz / AP

หอยขนาดใหญ่ที่ชาวยุโรปโบราณใช้ทำแตรและเป่าโน้ตดนตรีเมื่อหลายหมื่นปีก่อน ถูกมองข้ามในพิพิธภัณฑ์มานานหลายทศวรรษ มันถือเป็นเครื่องดนตรีประเภทเปลือกหอยที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จัก และมีความโดดเด่นในฐานะสิ่งที่ค้นพบที่ไม่เหมือนใครในบรรดาสิ่งประดิษฐ์ยุคหินเก่ายุโรปตอนบน (ประมาณ 46,000 - 12,000 ปีก่อน) ซึ่งยังคงใช้งานได้ โดยทำให้เกิดเสียงร้องคร่ำครวญอย่างลึกล้ำ ราวกับหวูดเรือจากอดีตอันไกลโพ้น

นักวิจัยกล่าวว่า แม้จะไม่รู้ว่าคนโบราณใช้แตรเปลือกหอยนี้อย่างไร แต่การศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ (Science Advances) ชี้ให้เห็นว่า เปลือกหอยในวัฒนธรรมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสมัยใหม่ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องดนตรี อุปกรณ์โทรหรือส่งสัญญาณ และวัตถุมงคลหรือเวทมนตร์ โดยนักวิจัยประเมินว่าเปลือกหอยมีอายุประมาณ 18,000 ปีจากการหาอายุของถ้ำด้วยคาร์บอน

เปลือกหอยถูกค้นพบระหว่างการขุดถ้ำ Marsoulas ซึ่งตั้งอยู่ในเชิงเขาของเทือกเขา French Pyrenees ในปี 1931 ซึ่งมีภาพเขียนฝาผนังแสดงถึงมนุษย์ สัตว์ และรูปทรงเรขาคณิตยุคก่อนประวัติศาสตร์

ผู้ค้นพบในขั้นต้นสันนิษฐานว่ามันถูกใช้เป็นถ้วยดื่มสำหรับทำพิธี จนกระทั่ง Carole Fritz นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัย Toulouse และเพื่อนร่วมงานเพิ่งเปลี่ยนมุมมองใหม่ หลังจากพิจารณาเปลือกหอยด้วยเทคนิคขั้นสูง ทีมงานคิดว่ามันน่าจะได้รับการดัดแปลงเมื่อหลายพันปีก่อนเพื่อใช้เป็นเครื่องเป่า

หอยขนาดใหญ่อายุ 18,000 ปีที่ถูกมองข้ามในพิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศสเป็นเวลา 90 ปี
ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นเครื่องมือเปลือกหอยที่เก่าแก่ที่สุดในโลกโดยนักโบราณคดี



ทั้งนี้ในสมัยกรีกโบราณ ญี่ปุ่น อินเดีย และเปรู เปลือกหอยขนาดใหญ่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในงานดนตรีและงานพิธีต่างๆ โดยตัวอย่างที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักคือเปลือกหอยที่พบในถ้ำ Marsoulas

แม้ว่า Gilles Tosello นักโบราณคดีอีกคนแห่ง Toulouse จะบอกว่าก่อนหน้านี้ พบเครื่องเป่าในซีเรียที่มีอายุประมาณ 6,000 ปี รวมทั้งขลุ่ยและนกหวีดที่ทำจากกระดูกในแหล่งโบราณคดียุค Upper Paleolithic แต่เครื่องเป่าที่ทำจากวัสดุเช่น เปลือกหอยนี้ถูกพบครั้งเดียวจากถ้ำดังกล่าวโดยเป็นของหอยทากขนาดใหญ่ของสายพันธุ์ Charonia lampas

การวิเคราะห์ใหม่เกี่ยวกับเปลือกหอยขนาดใหญ่ครั้งล่าสุดนี้ เกิดขึ้นหลังจากการจัดทำสินค้าคงคลังที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ Natural History Museum of Toulouse เมื่อนักวิจัยสังเกตเห็นรูที่ผิดปกติในเปลือก โดยเฉพาะปลายเปลือกหอยได้แตกออกเป็นรูเปิดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.5 ซม ใหญ่พอที่ลมพัดผ่านได้ จากการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์และการถ่ายภาพ (microscopic and imaging examinations) รูเปิดนี้เป็นผลมาจากฝีมือโดยเจตนาไม่ใช่ไม่ตั้งใจ

นักวิจัยกล่าวว่าการแตกหักไม่ใช่เรื่องบังเอิญเนื่องจากเป็นส่วนที่แข็งที่สุดของเปลือก ซึ่งด้านนอกของช่องเปิดของเปลือกแสดงให้เห็นร่องรอยของการตกแต่ง (การตัด) จากการสแกนยังพบว่าขดชั้นแรกมีรูพรุน เมื่อใส่กล้องแพทย์ขนาดเล็กเข้าไป พวกเขาพบว่ามีการเจาะอีกรูหนึ่งอย่างระมัดระวังในห้องชั้นในของเปลือกหอย และยังตรวจพบร่องรอยของเม็ดสีแดงที่ปากหอย ซึ่งตรงกับลวดลายประดับที่พบบนผนังถ้ำ Marsoulas

เปลือก Charonia มีร่องรอยของการดัดแปลงที่สำคัญของต้นกำเนิดของมนุษย์

นอกจากนั้น พวกเขายังสังเกตเห็นร่องรอยของสารอินทรีย์สีน้ำตาล ซึ่งน่าจะเป็นเรซินหรือขี้ผึ้งรอบๆ ช่องเปิดด้านบนสุด ที่อาจใช้เป็นกาวติดปากกระบอกเสียง จากนั้นจึงใช้การสแกน CT scan เพื่อแสดงภาพภายในของเปลือกหอย โดยพบว่ามีรูเพิ่มเติมอีก 2 รูถูกบิ่นออกไปในชั้นเกลียวตรงใต้ปลายของเปลือก ซึ่งน่าจะรองรับการต่อท่อยาวของหลอดเป่า

เพื่อยืนยันสมมติฐานที่ว่าเปลือกหอยนี้ใช้ในการผลิตเสียง นักวิทยาศาสตร์ได้ขอให้ผู้เล่นชาวฝรั่งเศสมืออาชีพเข้ามาช่วยเหลือ และด้วยการเป่าผ่านเปลือกหอย พวกเขาก็สามารถทำเสียงได้สามเสียงใกล้เคียงกับโน้ต C, C Sharp และ D ของระบบดนตรีสมัยใหม่ โดย Fritz กล่าวว่า เมื่อได้ยินมันเป็นครั้งแรก สำหรับเขามันเป็นอารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ อย่างไรก็ตาม ตอนแรกเขารู้สึกกังวลว่าหากนำเปลือกหอยขนาด 12 นิ้ว (31 ซม.) นี้มาเล่นอีกครั้งอาจทำให้มันเสียหาย แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้น เปลือกหอยสามารถสร้างโน้ต C, C sharp และ D ที่ชัดเจนได้

สำหรับถ้ำ Marsoulas ถูกค้นพบในปี 1897 ซึ่งดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมชาว Magdalenian ในภูมิภาคนี้ ถ้ำมีชื่อเสียงมากที่สุดสำหรับภาพวาดถ้ำสีแดงอมเหลือง ดังนั้นการค้นหาเม็ดสีเดียวกันบนเปลือกหอยสังข์ทำให้วัตถุนี้มีความสำคัญทางวัฒนธรรมบางอย่าง และหลักฐานชิ้นสำคัญมาจากนักดนตรีที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องเป่าซึ่งสามารถเล่นโน้ตทั้งสามได้

เปลือกหอย Charonia lampas จากถ้ำ Marsoulas (ฝรั่งเศส) และร่องรอยของเม็ดสีแดงที่เก็บรักษาไว้

Margaret Conkey นักโบราณคดีจาก University of California, Berkeley ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้กล่าวว่า ถ้ำ Marsoulas ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร ดังนั้นคนยุคก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องย้ายไปอยู่รอบ ๆ อาจเพื่อการค้าและรับเปลือกหอยมา และการค้นพบนี้ทำให้เราทราบว่าชีวิตของพวกเขาซับซ้อนมากกว่าที่เห็น

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดนตรีอาจมีความสำคัญมากในโลกสัญลักษณ์ของมนุษย์ในช่วงยุคหิน Upper Paleolithic แต่มีการเก็บรักษาและค้นพบเครื่องดนตรีเพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น ในขณะที่วัตถุที่เก่ากว่าที่อาจเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนดนตรีซึ่งอาจมีกลองด้วยนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้และหนังยังไม่ได้รับการเก็บรักษาไว้

แต่ตอนนี้ เรามีหลักฐานที่แน่ชัดแล้วว่าเปลือกหอยจาก Marsoulas มาจากระดับโบราณคดีที่มาจากจุดเริ่มต้นของยุค Magdalenian การตกแต่งด้วยสีแดงและองค์ประกอบกราฟิกที่มีอยู่บนผนังถ้ำสนับสนุนการแสดงที่มานี้ และนี่เป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมโยงเชิงสัญลักษณ์ระหว่างถ้ำอันวิจิตรกับเครื่องดนตรี เช่นเดียวกับศิลปะ โดยดนตรีเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับการปฏิบัติและพิธีกรรมทางสังคมร่วมกัน แม้การผลิตเสียงในยุคหินเก่ายังคงเป็นสาขาการตีความที่ยาก

ซึ่งสามารถอ้างอิงได้จากสิ่งประดิษฐ์ทางโบราณคดีเท่านั้น แต่ปัจจุบันนักโบราณคดีวางแผนที่จะศึกษาโน้ตต่างๆ ของแตรต่อไปโดยใช้แบบจำลอง 3 มิติ เพื่อให้วัตถุกลับคืนสู่แสงสว่างอีกครั้ง

แบบจำลองสามมิติ (3D) ของเปลือกหอย

ปลือกหอยเป็นตัวอย่างขนาดใหญ่ของ C. lampas ซึ่งเป็นหอยที่มีต้นกำเนิดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลเหนือ ปัจจุบันพบได้ในไอร์แลนด์และฝรั่งเศส

รายการบล็อกของฉัน