ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

หินอัคนีก้อนเท่าภูเขาใต้ประเทศญี่ปุ่น อาจเป็นเหมือนกับ “แม่เหล็ก” ดึงดูดแผ่นดินไหว

หินอัคนีก้อนเท่าภูเขาใต้ประเทศญี่ปุ่น อาจเป็นเหมือนกับ “แม่เหล็ก” ดึงดูดแผ่นดินไหว
ประเทศญี่ปุ่นในเวลากลางคืนเมื่อมองจากสถานีอวกาศนานาชาติ

สาเหตุที่ทำให้ประเทศญี่ปุ่นเผชิญเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาโดยตลอด นอกจากเพราะตำแหน่งที่ตั้งจะอยู่ในเขต "วงแหวนแห่งไฟ" (Ring of Fire) ของมหาสมุทรแปซิฟิกแล้ว หินอัคนีก้อนมหึมาที่ซ่อนตัวอยู่เบื้องล่างของแผ่นดินญี่ปุ่นทางตอนใต้ ยังอาจเป็นเหมือนกับแม่เหล็กหรือสายล่อฟ้า ดึงดูดให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงบ่อยครั้งในบริเวณนี้ด้วย

หินดังกล่าวซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2006 มีชื่อว่า "หินอัคนีบาดาลคุมาโนะ" (Kumano Pluton) เกิดจากการที่หินหนืดหรือแมกมาแทรกตัวขึ้นมาสะสมอยู่ภายในเปลือกโลกด้านบน แล้วเย็นตัวลงกลายเป็นหินอัคนีขนาดใหญ่เท่าภูเขาลูกย่อม ๆ โดยหินเจ้าปัญหาก้อนนี้ฝังอยู่ลึกลงไปใต้ดินที่จังหวัดวากายามะ บริเวณเกือบใต้สุดของเกาะฮอนชู

ล่าสุดทีมนักธรณีฟิสิกส์จากองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านแผ่นดินโลก-มหาสมุทรแห่งญี่ปุ่น (JAMSTEC) และมหาวิทยาลัยเทกซัสวิทยาเขตออสติน (UT Austin) ของสหรัฐฯ ตีพิมพ์ผลการศึกษาหินอัคนีบาดาลคุมาโนะโดยละเอียดเป็นครั้งแรกลงในวารสาร Nature Geophysics โดยระบุว่าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับหินก้อนนี้ จะช่วยให้ทำนายการเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงครั้งต่อไปในญี่ปุ่นได้แม่นยำขึ้น

ภาพจำลอง 3 มิติ แสดงตำแหน่งของหินอัคนีบาดาลคุมาโนะ (แท่งนูนสีแดงตรงกลางภาพ)

ทีมผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลคลื่นสั่นสะเทือนจากเหตุแผ่นดินไหวในอดีต ซึ่งฐานข้อมูลรวบรวมไว้ทั้งหมด 20 ปีด้วยกัน โดยการสะท้อนและหักเหของคลื่นแผ่นดินไหวดังกล่าว ทำให้พบบริเวณที่มีความหนาแน่นเป็นพิเศษในชั้นหินของ "เขตมุดตัวนันไก" (Nankai Subduction Zone) ซึ่งเขตมุดตัวนั้นเป็นพื้นที่ที่แผ่นธรณีเกิดการชนปะทะ โดยแผ่นหนึ่งมุดตัวลงไปอยู่ด้านล่างของอีกแผ่นหนึ่ง

ผลจากการคำนวณและสร้างแบบจำลองสามมิติจากคอมพิวเตอร์ชี้ว่า น้ำหนักมหาศาลของหินอัคนีบาดาลคุมาโนะ ทำให้แผ่นธรณีหรือแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ข้างใต้ถูกกดทับจนโค้งงอเป็นแอ่งกระทะ ทั้งยังทำให้เกิดช่องทางที่น้ำบาดาลสามารถซึมเข้าไปในชั้นเนื้อโลกได้ด้วย

นอกจากนี้ หินอัคนีดังกล่าวยังมีความแข็งและความหนาแน่นสูง ส่งผลให้มันมีบทบาทสำคัญต่อการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของแผ่นธรณีบริเวณตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตมุดตัวที่เปลือกโลกมีความอ่อนไหวต่อโครงสร้างทางธรณีวิทยาอื่น ๆ ในระดับสูงอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่เมื่อปี 1944 และ 1946 เคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ซึ่งมีขนาดหรือแมกนิจูด 8 ขึ้นไป ในพื้นที่รอบข้างของหินก้อนนี้

ทีมผู้วิจัยยังเตือนว่า อาจมีหินอัคนีบาดาลแบบเดียวกันซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวแห่งอื่น ๆ ของโลก จึงควรที่จะทำการสำรวจอย่างละเอียด เพื่อเตรียมรับมือต่อภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

รายการบล็อกของฉัน

  • เทคนิคแก้ปัญหากลิ่นปาก - ค้นหา *เทคนิคแก้ปัญหากลิ่นปากให้ถูกทาง* น่าจะเคยเป็นกันบ้างที่เวลาจะพูดกับใคร เรามักจะไม่มั่นใจในกลิ่นปากและลมหายใจของเรา จึงทำให้ไม่มั่นใจในการสนทนาเท่า...
    2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • ว่านดอกทองแปลกที่กลิ่นคล้ายน้ำอสุจิ - ว่านดอกทอง ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma spp. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) ค้นหา สมุนไพรว่านดอกทอง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ว่านมหาเสน่ห์ (รากราคะ, ว่านร...
    3 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • มนุษย์จะติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวภายในสิ้นศตวรรษนี้ - มนุษย์จะติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวภายในสิ้นศตวรรษนี้ นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎีและนักอนาคตอย่าง Michio Kaku ได้เคยกล่าวกับ Redditers ไว้เมื่อไม่นานมานี้ อย่างไรก็...
    5 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • การเลือกซื้อเสื้อกันหนาว มือ 2มาใช้ - Two Hand sweaters *จากสภาพอากาศที่เริ่มหนาวเย็นขึ้น *ส่งผลให้เสื้อกันหนาวมือสองกำลังได้รับความนิยมอย่างคึกคัก โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย เพราะเสื้อ 1 ตัวนั้...
    3 ปีที่ผ่านมา
  • ระยะห่างในการรับชม TV ที่เหมาะสม - *สาระน่ารู้ระยะห่างในการรับชมที่เหมาะสม * *และ จะซื้อ LED TV ใหญ่ขนาดไหนดีนะเรา ?* สวัสดีครับทุกท่าน ผมเชื่อว่าตอนนี้ยังมีหลายๆท่านยังเค้าใจผิดคิดว่า ยิ่งจอ ...
    11 ปีที่ผ่านมา