แม้แต่เอฟบีไอและนักถอดรหัสอัจฉริยะอย่างอลัน ทัวริง ยังไม่สามารถจะไขปริศนาของตำราโบราณนี้ได้
ตำราวอยนิช (Voynich manuscript) หนังสือโบราณจากยุคกลางของยุโรป
ซึ่งเขียนด้วยรหัสลึกลับที่ไม่มี
นักภาษาศาสตร์หรือ
นักคณิตศาสตร์คนใดจะแปลความหมายออกได้มานานกว่า 600 ปี ได้รับการไขปริศนาในเรื่องแหล่งที่มาและตัวตนของผู้เขียน ทั้งยังทราบถึงภาษาโบราณที่ใช้ในการเขียนด้วย
ซึ่งเขียนด้วยรหัสลึกลับที่ไม่มี
นักภาษาศาสตร์หรือ
นักคณิตศาสตร์คนใดจะแปลความหมายออกได้มานานกว่า 600 ปี ได้รับการไขปริศนาในเรื่องแหล่งที่มาและตัวตนของผู้เขียน ทั้งยังทราบถึงภาษาโบราณที่ใช้ในการเขียนด้วย
ดร. เจอราร์ด เชสเชียร์
นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลของสหราชอาณาจักร เผยว่าสามารถไขปริศนาของตำราวอยนิชได้ หลังจากลงมือศึกษาต้นฉบับโดยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น โดยเขาเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์แบบใหม่ และได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสารวิชาการ Romance Studies ฉบับล่าสุด
นักวิจัยด้านภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลของสหราชอาณาจักร เผยว่าสามารถไขปริศนาของตำราวอยนิชได้ หลังจากลงมือศึกษาต้นฉบับโดยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น โดยเขาเลือกใช้วิธีวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์แบบใหม่ และได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสารวิชาการ Romance Studies ฉบับล่าสุด
ก่อนหน้านี้บรรดาผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรสำคัญต่าง ๆ ทั่วโลก แม้แต่เอฟบีไอและนักถอดรหัสอัจฉริยะอย่างศาสตราจารย์ อลัน ทัวริง ก็ไม่สามารถจะไขปริศนาของตำราโบราณนี้ได้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าตำราวอยนิชอาจเป็นเพียงของปลอมที่ทำขึ้นเองโดยนายวิลฟริด เอ็ม. วอยนิช พ่อค้าและนักสะสมของโบราณชาวโปแลนด์ ซึ่งเป็นผู้ค้นพบหนังสือเล่มนี้เมื่อปี 1912
ดร. เชสเชียร์ เชื่อว่าตำราวอยนิชเขียนขึ้นโดยใช้ภาษา
ในกลุ่มโรมานซ์โบราณ
(Proto-Romance)
ในกลุ่มโรมานซ์โบราณ
(Proto-Romance)
อย่างไรก็ตาม ผลการตรวจหาอายุด้วยคาร์บอนกัมมันตรังสีพบว่า ตำราวอยนิชนั้นเป็นของเก่าที่ถูกเขียนขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 และในปีที่แล้ว (2018) ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ทาของแคนาดา ได้พยายามใช้โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอถอดรหัสตำราวอยนิช จนพบว่าตำรานี้ถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาที่มีความคล้ายคลึงกับภาษาฮีบรูของชาวยิวเป็นอย่างมาก
ผลการศึกษาล่าสุดของดร. เชสเชียร์ชี้ว่า ตำราวอยนิชนั้นเป็นหนังสือรวบรวมความรู้และแนวปฏิบัติเรื่องสุขภาพของสตรี ซึ่งบรรดาแม่ชีคณะดอมินิกันได้รวบรวมขึ้น เพื่อใช้เป็นตำราอ้างอิงในราชสำนักฝ่ายในของพระนางมาเรียแห่งคาสตีล (Maria of Castile) ราชินีแห่งแคว้นอารากอนซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของประเทศสเปน เนื้อหาบางส่วนกล่าวถึงการใช้สมุนไพร การอาบน้ำชำระร่างกาย สรีระของสตรี และโหราศาสตร์
ปัจจุบันตำราวอยนิชถูกเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเยลในสหรัฐฯ
ดร. เชสเชียร์ยังระบุว่า ภาษาที่ใช้ในการเขียนหนังสือซึ่งถือว่ามีความลึกลับที่สุดเล่มหนึ่งของโลกนี้ เป็นภาษาเก่าแก่ที่สูญหายไปแล้วภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาโรมานซ์โบราณ (Proto-Romance) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของภาษาสเปน โปรตุเกส ฝรั่งเศส อิตาเลียน โรมาเนียน คาตาลัน และกาลิเซียน ในปัจจุบัน
"ภาษาโบราณนี้ใช้กันทั่วไปในภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนช่วงยุคกลาง แต่เป็นภาษาพูด ไม่ใช่ภาษาเขียนของทางการอย่างภาษาละติน ทำให้มันสูญหายและตายไปในที่สุด" ดร. เชสเชียร์กล่าว
"ตำรานี้ดูเหมือนเขียนด้วยรหัสลับ เพราะใช้สัญลักษณ์หลายแบบทั้งที่เราคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยมาเป็นตัวพยัญชนะและสระ ทั้งไม่มีการกำหนดใช้เครื่องหมายวรรคตอนโดยเฉพาะ"
"ตำรานี้ดูเหมือนเขียนด้วยรหัสลับ เพราะใช้สัญลักษณ์หลายแบบทั้งที่เราคุ้นเคยและไม่คุ้นเคยมาเป็นตัวพยัญชนะและสระ ทั้งไม่มีการกำหนดใช้เครื่องหมายวรรคตอนโดยเฉพาะ"
คาดว่าจะมีการแปลเนื้อหากว่า 200 หน้าของตำราวอยนิชออกมาโดยละเอียดต่อไป ซึ่งในระหว่างนี้นักภาษาศาสตร์บางส่วนได้แสดงความสงสัยถึงวิธีการถอดรหัสของ ดร. เชสเชียร์ ว่ามีความถูกต้องหรือไม่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สรุปว่ามีภาษาโบราณอยู่เพียงภาษาเดียวที่เป็นต้นตระกูลของกลุ่มภาษาสมัยใหม่หลายภาษา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่สรุปว่ามีภาษาโบราณอยู่เพียงภาษาเดียวที่เป็นต้นตระกูลของกลุ่มภาษาสมัยใหม่หลายภาษา