ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

พบฟอสซิลสมองของไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก

👉พบฟอสซิลสมองของไดโนเสาร์เป็นครั้งแรก

ค้นหา
Custom Search
นักวิทยาศาสตร์ประกาศค้นพบฟอสซิลสมองของอิกัวโนดอน ไดโนเสาร์กินพืช อายุ 133 ล้านปี พบมีความคล้ายกับสมองนกในปัจจุบัน

กลายเป็นข่าวโด่งดังขึ้นมา เมื่อก้อนหินประหลาดที่ถูกค้นพบโดยบังเอิญ ที่หาด Sussex ในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2004 กลับกลายเป็นฟอสซิลสมองของไดโนเสาร์ ที่ไม่เคยมีใครค้นพบมาก่อน

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าฟอสซิลสมองชิ้นนี้มีอายุราว 133 ล้านปี และเป็นของไดโนเสาร์กินพืชที่มีชื่อว่า อิกัวโนดอน ที่อาศัยอยู่บนโลกในช่วงต้นของยุคครีเตเชียส
จากการตรวจสแกนฟอสซิลชิ้นนี้พบว่า ไดโนเสาร์มีสมองและเยื่อหุ้มสมองที่คล้ายคลึงกับนก และจระเข้ อย่างไรก็ดียังคงเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ความชาญฉลาดของสัตว์โลกล้านปีนี้จากฟอสซิลที่แข็งเป็นหิน แต่อย่างน้อยก็พอบอกได้ว่าไดโนเสาร์เหล่านี้มีความชาญฉลาดไม่ต่างจากจระเข้ในปัจจุบัน
การค้นพบฟอสซิลสมองของไดโนเสาร์นั้นเป็นเรื่องที่หายากมาก เนื่องจากปกติแล้วเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่มเหล่านี้จะย่อยสลายไปเอง เมื่อไดโนเสาร์ตายลง ทีมนักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตุว่าอิกัวโนดอนตัวนี้น่าจะเสียชีวิตจากการจมลงไปในน้ำ ในท่าที่หัวของมันดิ่งลงสู่พื้นของทะเลสาบ หรือแม่น้ำ กระโหลกศีรษะของมันทำหน้าที่เป็นชามปกป้องสมองภายใน ในยุคดึกดำบรรพ์ค่าออกซิเจนในน้ำไม่ได้สูงมากนัก

ดังนั้นน้ำจึงทำหน้าที่เสมือนเป็นน้ำดองอย่างดีและตลอดเวลาของการย่อยสลาย แร่ธาตุหลายอย่างก็เข้ามาแทนที่เนื้อเยื่อในระดับโมเลกุล จนในที่สุดสมองของมันก็กลายเป็นฟอสซิลการศึกษาในอนาคตจะช่วยเปิดเผยเรื่องราวเชื่อมโยงระหว่างสมองโบราณ และสัตว์สมัยใหม่มากขึ้น 

Amy Balanoff นักวิจัยจากศูนย์วิวัฒนาการและร่างกาย
จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ กล่าวว่า เธอไม่ได้มั่นใจร้อยเปอร์เซนต์ว่าฟอสซิลนี้คือเนื้อเยื่อของสมอง เพราะการจะยืนยันได้ต้องอาศัยกระบรวนการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ที่ยาวนานกว่านี้ แต่เธอยอมรับว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจ ที่จะได้รับรู้เรื่องราวใหม่ๆจากฟอสซิลชิ้นนี้

รายการบล็อกของฉัน