ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

การค้นพบฟอสซิลยุงดึกดำบรรพ์ตัวแรก ที่มีเลือดอยู่เต็มพุง ที่มีอายุกว่า 46 ล้านปี

🔜การค้นพบฟอสซิล “ยุง” ดึกดำบรรพ์
ตัวแรก ที่มีเลือดอยู่เต็มพุง ที่มีอายุกว่า 46 ล้านปี!!!!
ไอเดียในภาพยนตร์เรื่อง จูราสสิค ปาร์ค เกี่ยวกับการใช้ฟอสซิลยุงที่มีเลือดไดโนเสาร์อยู่ในท้องเพื่อโคลนนิ่งไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อหลายล้านปีก่อนอาจเป็นเพียงนิยายวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้น จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบฟอสซิลของยุงที่มีเลือดอยู่ในท้องจริงๆ เป็นครั้งแรก แม้จะไม่ถึงขนาดที่เอามาโคลนนิ่งสร้างสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วได้แบบในภาพยนตร์ แต่การค้นพบนี้ก็ให้ข้อมูลมากมายแก่นักวิทยาศาสตร์

ฟอสซิลยุงที่เพื่อนๆเห็นกันอยู่นี้มีชื่อว่า USNM 559050 ค้นพบฟอสซิลยุงในชั้นหิน Oil Shale ในรัฐ Montana ประเทศอเมริกา เป็นฟอสซิลยุงที่ค้นพบตั้งแต่ช่วงปี 1980 ไม่ได้ฝังอยู่ในแท่งอำพันแบบในเรื่องจูราสสิค พาร์ค แต่ฝังอยู่ในหินดินดานที่เกิดจากตะกอนทับถมกันในน้ำ (ในโลกนี้มีแมลงที่กินเลือดอยู่ราว 14,000 สปีชีส์)
ยุงโบราณตัวนี้ยังมีสภาพครบสมบูรณ์มาจากการที่ถูกหินลักษณะ เป็นโคลนอ่อนนุ่มหุ้มตัวไว้ในช่วง ที่เทือกเขาแห่งนี้ยกตัวขึ้นจากพื้นผิวโลก ในช่วงที่มีการก่อกำเนิดเทือกเขานี้ใหม่ๆ ทำให้ซากยุงถูกดันขึ้นไปอยู่บนเทือกเขา ก่อนที่โคลนที่หุ้มตัวยุงอยู่ จะแข็งตัวอย่างช้าๆ โดยไม่ได้ทำลายซากยุงที่ติดอยู่ เกิดเป็นฟอสซิลยุงที่ครบสมบูรณ์

แต่สำหรับคนที่หวังว่านักวิทยาศาสตร์จะโคลนนิ่งไดโนเสาร์ได้แบบในเรื่องจูราสสิค ปาร์ค คงต้องผิดหวังหน่อย เพราะ DNA ในเลือดถูกทำลายไปเกือบหมดแล้ว นอกจากนี้เลือดที่อยู่ในท้องยุงยังไม่ใช่เลือดไดโนเสาร์อีกด้วย เพราะอายุของฟอสซิลดังกล่าวมีอายุ 46 ล้านปี ซึ่งเป็นยุคที่ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดังนั้นเลือดในท้องจึงไม่ใช่ของไดโนเสาร์แน่นอน
Dale Greenwalt
แต่ฟอสซิลยุงที่ค้นพบนั้นมาจากยุค Eocene ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้เป็นยุคไดโนเสาร์ แต่ก็มีอายุกว่า 46 ล้านปีที่ใกล้เคียงยุคไดโนเสาร์กว่ายุงในอำพันจาก Dominican แบบในหนังเรื่อง Jurassic Park ที่มีอายุน้อยกว่ายุคไดโนเสาร์มากๆ (อำพัน Dominican จะมาจากยุค Oligocene และ Miocene ที่มีอายุไม่เกิน 20 กว่าล้านปี)

แม้ว่าเลือดจากฟอสซิลยุงจะยังไม่สามารถใช้ศึกษาข้อมูลของสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วแบบในภาพยนตร์ แต่การค้นพบนี้ก็แสดงให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าเลือดที่ยุงดูดมาจากเหยื่อสามารถถูกเก็บรักษาไว้ในฟอสซิลได้จริง และทำให้มีความเป็นไปได้ว่าฟอสซิลเลือดนั้นสามารถถูกรักษาได้เป็นสิบๆล้านปีเลยทีเดียว และ ถ้ามีการสำรวจและค้นพบฟอสซิลยุงจากยุค Cretaceous เราอาจจะมีโอกาสได้ทดสอบทฤษฎี Cloning ไดโนเสาร์จาก DNA ซักวันก็เป็นได้ครับ ขยับเข้าใกล้จินตนาการในภาพยนตร์ไปอีกก้าวหนึ่ง

🔜George Church
และเรื่องของการคืนชีพนี้ไม่ได้มีแค่เพียงในสัตว์เท่านั้น เพราะได้มีการประกาศหาแม่อุ้มท้องมนุษย์ดึกดำบรรพ์นีแอนเดอร์ทัลซึ่งสาบสูญไปแล้วนานกว่า 33,000 ปี ศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช แห่งฮาร์วาร์ดวางแผนจะนำ DNA จากฟอสซิลกระดูกของมนุษย์ถ้ำไปใส่ในเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ แต่ปรากฏว่ายังไม่มีหญิงสาวผู้ใดยกมือเป็นอาสาสมัคร

และอาจทำให้เราได้บุคคลสำคัญของโลกคืนกลับมาอีกด้วย อย่างล่าสุดที่มีการขุดพบกะโหลกซึ่งคาดว่าจะเป็นของพระเจ้าริชาร์ดที่ 3 กษัตริย์อังกฤษในอดีต บริเวณลานจอดรถแห่งหนึ่ง ทีมนักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์ต้องออกติดตามหาตัวทายาทรุ่นที่ 17 เพื่อเปรียบเทียบดีเอ็นเอ ถ้าผลออกมาว่าใช่กะโหลกของพระองค์ อาจจะมีการโคลนนิ่งพระองค์ขึ้นมาอีกครั้ง!

ทั้งหมดทั้งมวลนี้มีความเป็นไปได้สูงหลังจากที่ทาง 2 สถาบันริเกน แห่งญี่ปุ่นโคลนนิ่งหนูได้สำเร็จในปี ค.ศ.2006 ความสำเร็จนี้ตีพิมพ์ลงวารสาร National Academy of Sciences โดยนำเซลล์จากหนูที่ตายแล้วแช่แข็งไว้ 16 ปี เก็บไว้ในอุณหภูมิ -20 องศา ที่จริงความเย็นขนาดนั้นจะทำให้เซลล์เสียหาย พวกเขาจึงเลือกเซลล์จากส่วนสมองซึ่งมีไขมันห่อหุ้มอยู่มากที่สุด มันจึงไม่ได้รับความเสียหาย สกัดเอานิวเคลียสจากเซลล์แล้วไปใส่ในหนูเพื่อฝากท้องนาน 3 สัปดาห์ มัน แข็งแรงเมื่อมีชีวิต ทั้งยังสามารถผสมพันธุ์และมีลูกออกมาได้
สตีเฟ่น ฮอว์กิง – “การศึกษาและทดลองในส่วนของพันธุกรรมมนุษย์นั้น จะทำให้เราเข้าใจจักรวาลวิทยาและเข้าในพระทัยของพระเจ้ามากขึ้น”

ประธานาธิบดี บิล คลินตัน – “หากการโคลนนิ่งมนุษย์สำเร็จ สิ่งที่ตามมาอาจไม่ใช่แค่ความก้าวหน้าของโลกเท่านั้น ความเกี่ยวข้องกับกฎหมายก็จะวุ่นวายตามไปด้วย แม้ปฏิญญาสากลว่าด้วยการทดลองรหัสพันธุกรรมมนุษย์ขององค์การยูเนสโกจะระบุว่าห้ามทำการโคลนนิ่งมนุษย์ แต่ในหลายประเทศก็ไม่ได้มีการออกกฎหมายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ ทว่าอเมริกาเองก็ไม่ได้มีกฎหมายห้ามการโคลนนิ่ง”...

รายการบล็อกของฉัน