🐴‘กับดักมรณะ?’ เผยวงจรการตายของเหล่าไดโนเสาร์บนแผ่นดินจีนเมื่อ 160 ล้านปีก่อน ที่ต้องเรียกว่าสุดแปลกประหลาด
เป็นยังไง มาดู
แม้เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน ทรีปเอเชียส่วนใหญ่จะยังจมอยู่ใต้มหาสมุทร แต่ก็มีพื้นที่บางส่วนที่จะโผล่พ้นน้ำกลายมาเป็นแผ่นดินจีนในปัจจุบัน และกลายเป็นที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์หลายสายพันธุ์ที่ไม่ถูกพบในส่วนอื่นของโลก ...
🔜อย่างเช่น กวนลอง (Guanlong) ไดโนเสาร์ที่เชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษยุคแรกสุดของ ไทแรนโนซอรัส เท่าที่มีการค้นพบในตอนนี้ และยังมีสาเหตุการตายที่ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาต่างงงไปตามๆ กัน เพราะดูเหมือนซากฟอสซิลส่วนใหญ่ที่เขาพบนั้น ล้วนแต่มาจากการตายอย่างต่อเนื่องรวมกันของไดโนเสาร์ในยุคนั้น
จากการขุดค้นแหล่งฟอสซิลโบราณใน
แอ่งจุงการ์ (Junggar Basin) ที่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ทีมนักล่าฟอสซิลได้พบกับเสาหินขนาดสองตันที่ภายในนั้นเต็มไปด้วยชิ้นส่วนฟอสซิลของไดโนเสาร์จำนวนมาก ที่มีทั้งขนาดและอายุที่แตกต่างกันไป จนเกิดคำถามว่าซากเหล่านี้มากองรวมกันในลักษณะนี้ได้อย่างไร
หลังจากทำการศึกษาลักษณะดินในเสาหินดังกล่าว ทีมนักวิจัยพบว่าสิ่งที่เป็นเหมือนสุสานขนาดใหญ่นี้คือ หล่มโคลนขนาดใหญ่ ที่เริ่มต้นจากการมีไดโนเสาร์ตัวแรกลงไปติด และพยายามตะเกียกตะกายเพื่อพาตัวเองออกมาจากหล่มนั้น ซึ่งเป็นการดึงดูดให้นักล่าตัวอื่นเข้ามาใกล้ๆ เพื่อเล่นงานสัตว์ที่ใกล้ตายนั้น จนกลายเป็นการพาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในแหล่งโคลนนั้นด้วย จนกลายเป็นวงจรของกับดักมรณะที่เกิดขึ้นอย่างไม่จบสิ้น
แม้จะเป็นเรื่องราวน่าเศร้า แต่ฟอสซิลที่ถูกเก็บลักษณะไว้อย่างดีในชั้นโคลนอายุกว่า 160 ล้านปี ก็ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาพบกับปริศนาที่น่าสนใจอีกประการของไดโนเสารในยุคแรกเริ่ม เพราะมีซากโบราณบางชิ้นที่แสดงลักษณะของขนยุคแรกเริ่มอยู่ด้วย
เรียบเรียง : Sp