🌝นักล่าหัวมีดพับแห่งท้องทะเล
อายุ 508 ล้านในยุคแคมเบรียน (Cambrian)
ค้นหา
Custom Search
เมื่อ 507–500 ล้านปีที่แล้ว มีเกิดเหตุการณ์ใหญ่ที่เรียกว่า แคมเบรียน เอ็กโพลชั่น
(Cambrian explosion) เป็นปรากฏการณ์ทางชีวภาพที่จู่ๆสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอุบัติขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน
แต่มีสัตว์ชนิดหนึ่งที่นักบรรพชีวินวิทยาศึกษามาอย่างยาวนาน นั่นคือกลุ่มสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอดส์ (Arthropods) หรือสัตว์ขาปล้องมีรยางค์ต่อกันเป็นข้อๆ โดยชนิดที่พวกเขาสนใจคือฮาบีเลีย ออปตาตา (Habelia optata) อายุ 508 ล้านปี ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาวิทยาลัยโตรอนโต และพิพิธภัณฑ์รอยัล ออนทาริโอ เมืองโตรอนโต ในแคนาดา เผยว่า ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลของฮาบีเลีย ออปตาตา ถูกค้นพบครั้งแรกมานานกว่า 100 ปี ที่เบอร์เจสส์ เชล แหล่งขุดค้นฟอสซิลในรัฐบริติชโคลัมเบียแห่งแคนาดา
ซากมีขนาด 2 เซนติเมตร หางยาว เป็นญาติกับพวกแมงมุม, แมลง, ล็อปสเตอร์และปู แต่ฮาบีเลีย ออปตาตา กลับไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับโครงสร้างของร่างกาย แขนขา ข้อต่อ รวมถึงการล่าเหยื่อและการกินอาหาร ทว่าการวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายของสัตว์ดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ล่าสุดพบว่าอวัยวะที่เรียกว่าเคลิเซอรา (chelicerata) อยู่ด้านหน้าของปาก มีไว้เพื่อตัดฉีกอาหาร
ทั้งนี้ ได้มีการจำลองภาพที่สมบูรณ์ของฮาบีเลีย ออปตาตา ที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายมีเกราะหุ้มและปกคลุมไปด้วยเงี่ยงที่แตกต่างกัน ลำตัวแบ่งเป็นปล้องรยางค์พร้อมขาเดิน 5 คู่ ส่วนหัวมีพัฒนาการที่ซับซ้อนแปลกประหลาด
ส่วนที่ยื่นออกมาจากร่างกายนั้นมีฟันสำหรับเคี้ยวแหลมคม ขายาวเรียวมีขนแข็งและมีประสาทสัมผัส ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยาเชื่อว่าฮาบีเลีย ออปตาตา นั้นเป็นนักล่าที่ดุร้ายอย่างยิ่งแม้จะมีขนาดตัวเล็กกระจ้อยร่อย.