เสวียนอู่ เต่าผสมงูแค่ในตำนาน หรือว่ามีอยู่จริง?
เต่าผสมงูแค่ในตำนานงูผสมเต่า
จะมีอยู่จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับแต่มันก็เป็นเพลงตำนานเล่าขานกันมาบางทีอาจจะมีจริงก็ได้นะครับเต่าผสมงูผสมเต่าแต่ไม่รู้ว่ามันจะผสมกันยังไงนึกภาพไม่ออกอ่านไปเพื่อความรู้เพื่อความเข้าใจก็ลองค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเอาได้นะครับโดยเฉพาะบทความนี้ก็มีสาระข้อมูลพอสมควรหวังว่าคงจะมีประโยชน์กับท่านผู้อ่านบ้างนะครับ
เต่าเป็นสัตว์เลือดเย็นในชั้นสัตว์เลื้อยคลานที่วิวัฒนาการมานานกว่า 200 ล้านปี เรียกได้ว่าเกิดมาก่อนเชื้อสายมนุษย์ตอนแยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วหลายช่วงตัวเลย แต่ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเต่านั้น นอกจากจะสัมพันธ์กันตามธรรมชาติแล้วเรายังผูกพันกันในแง่ของคติความเชื่อมากมายลึกซึ้ง
กลุ่มดาวเต่าดำ กินพื้นที่ 1 ใน 4 ส่วนของท้องฟ้าทั้งหมด โดยมีส่วนคอของเก็นบุอยู่ในกลุ่มราศีธนู กระดองอยู่ในกลุ่มดาวราศีมังกร ราศีกุมภ์และเพกาซัส ส่วนหางงูตั้งอยู่ในกลุ่มดาวเพกาซัสและแอนโดรเมดา
ที่มาภาพ
เต่ากับสัญลักษณ์ของสัตว์ที่มีอายุยืนยาว
คนไทยมีความเชื่อว่าการปล่อยเต่าจะเป็นการต่อชีวิตให้ยืนยาว ปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกแต่ขณะเดียวกันก็เชื่อว่าหากเลี้ยงเต่าที่ถูกปล่อยมาจะนำพาเคราะห์ร้ายของคนอื่นเข้ามาอยู่ในบ้านตน ฟังดูงมงาย แต่ก็น่าจะมีส่วนจริง เพราะเต่าไทยทุกชนิดมีกฎหมายคุ้มครอง หากมีไว้ครอบครองย่อมเสี่ยงผิดกฎหมายควรนำไปปล่อยในสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามชนิดของเต่าตัวนั้นน่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ในสมัยราชวงศ์เซี่ยและราชวงศ์ชางของจีนก็มีการนำกระดองเต่ามาจารึกตัวอักษรเพื่อใช้เสี่ยงทายทำนายโชคชะตา เรียกว่า“กระดูกเสี่ยงทาย”อักษรที่ใช้จารึกนี้พัฒนามาจนเป็นอักษรจีนที่ใช้ในปัจจุบัน
กระดูกเสี่ยงทายในสมัยราชวงศ์ชางของจีน
ที่มาภาพ
คติความเชื่อร่วมกันที่เด่นชัดที่สุดของชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ซึ่งครอบคลุมไปถึงชนชาติอื่น ๆ ในแถบเอเชียตะวันออกด้วยนั้นคือ ยกให้เต่าเป็นสัตว์มงคล เป็นถึงหนึ่งในสี่สัตว์เทพ ในความเชื่อเรื่องเทวะจตุรทิศ สัตว์เทพทั้งสี่นำมาใช้ในศาสตร์วิทยาการหลากหลายสาขา ไม่ว่าทางดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และการศึก
เทวะจตุรทิศ ประกอบด้วยมังกรเขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ
พญาเต่าดำ (เสวียนอู่ ในภาษาจีน, เกมบุ ในภาษาญี่ปุ่น, ฮยอนมู ในภาษาเกาหลี) เป็นเทพประจำทิศเหนือเป็นตัวแทนของฤดูหนาวหรือธาตุน้ำโดยตามตำนานมีลักษณะเป็นเต่าขนาดใหญ่ที่มีงูพันอยู่รอบตัว เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ในขณะที่งูเป็นสัญลักษณ์ของการสืบพันธุ์และเพิ่มจำนวน เต่าดำจึงเป็นตัวแทนของการมีชีวิตอันยืนยาวและการปกปักรักษา
หากดูเผิน ๆ เต่าดำน่าจะคล้ายสัตว์ลูกผสมในตำนานคล้ายคิเมร่าที่ไม่น่ามีอยู่จริงได้ แต่สำหรับเกลอที่ใกล้ชิดกับเต่าจะรู้ดีว่าลักษณะร่วมของเต่ากับงูแบบนี้พบได้บ่อยในเต่าตัวตัวผู้ช่วงฤดูผสมพันธุ์ใช่แล้วเกลอเอยส่วนที่เห็นเป็นงูนั้นแท้จริงแล้วมันคือ กระปู๋ (penis) ของเต่านั่นเอง
กระปู๋ของเต่าทั้งเต่าบกและเต่าน้ำมีลักษณะเป็นก้อนเนี้อขนาดใหญ่ยื่นออกมาและมีส่วนปลายบานออกคล้ายหัวงู ซึ่งตามปกติกระปู๋อันมโหฬารของเต่านี้จะหดอยู่ภายในตัวเงียบ ๆ จะยืดยาวออกมาเฉพาะตอนใช้ผสมพันธุ์หรือตอนก้าวร้าวเท่านั้น โอกาสพบเห็นจึงไม่ได้มีบ่อย ๆ ทำให้กลายเป็นเรื่องชวนตกใจและชวนเข้าใจผิดต่อผู้พบเห็นที่ไม่คุ้นเคย จนคิดไปว่าเป็นเต่าที่มีส่วนผสมของงูแบบที่ปรากฏในตำนาน (ชมคลิปอวัยวะเพศของเต่าบกตัวผู้เพิ่มเติมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=ksMZ00690xE)
กระปู๋ที่ยืดยาวออกมาแบบนี้ช่วยให้การผสมพันธุ์ของเต่าประสบความสำเร็จมากขึ้น เนื่องจากการผสมพันธุ์ของเต่าเป็นการผสมพันธุ์แบบภายใน (internal fertilization) ส่วนที่ยื่นออกมาจะเป็นส่วนกระปู๋เท่านั้น ส่วนอัณฑะจะยังอยู่ในตัวเต่าเพื่อรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการสร้างและการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิของเต่า เต่าเพศผู้จะขึ้นคร่อมอยู่บนหลังเต่าเพศเมีย ทั้งคู่จะยื่นอวัยวะเพศมาพบกัน จากนั้นเต่าเพศผู้ก็จะถ่ายน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะเพศของเต่าเพศเมีย รอเวลาที่จะกลายเป็นเต่าตัวน้อย ๆ ออกมาสู้ชีวิตบนโลกนี้ต่อไป
แม้เต่าจะเป็นสัญลักษณ์ของอายุที่ยืนยาว ความเป็นอมตะ มาแต่ครั้งโบราณ แต่เราและเกลอทุกคนทราบกันดีว่าในทุกวันนี้จำนวนและชนิดของเต่ามีแนวโน้มลดลงทุกที ทางองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล สหรัฐอเมริกา จึงได้เสนอให้ทุกวันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันเต่าโลก (World Turtle Day)เพื่อกระตุ้นเตือนให้มนุษย์โลกตระหนักรู้และร่วมกันอนุรักษ์เต่า
ประเทศไทยเองได้เข้าร่วมกับการอนุรักษ์ ด้วยการออกกฎหมายให้เต่าไทยทุกชนิดเช่น เต่าหกเหลือง เต่ากระ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองยกเว้นเต่ามะเฟืองที่ได้รับการยกระดับให้เป็นสัตว์ป่าสงวน และเต่าหายากจากต่างประเทศตามอนุสัญญาไซเตส เช่น เต่าดาวอินเดีย เป็นสัตว์ป่าควบคุม ห้ามล่า ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือห้ามนำเข้า–ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต