ซัลลีจญ์ (อาหรับ: الزليج, อักษรโรมัน: zillīj; ปรากฏการสะกดทั้ง Zellij, zillij หรือ zellige) เป็นรูปแบบของงานกระเบื้องโมเสก ทำมาจากกระเบื้องที่แกะด้วยมือเป็นชิ้น ๆ(p335)[2](p41)(p166)
โดยทั่วไปแล้วกระเบื้องชิ้นแต่ละชิ้นจะมีสีที่แตกต่างกันไป และต่อเข้าด้วยกันเป็นรูปลวดลายต่าง ๆ บนพื้นฐานของการฝังหินขัดเป็นลวดลาย โดยเฉพาะเป็นรูปแม่ลายเรขาคณิตอิสลาม เช่นรูปดาวหลายแฉก
ศิลปะอิสลามรูปแบบนี้เป็นหนึ่งในลักษณะเด่นหลักของสถาปัตยกรรมในโลกอิสลามตะวันตก พบในสถาปัตยกรรมโมร็อกโก, อัลจีเรีย, ในแหล่งอิสลามยุคแรก ๆ ของตูนิเซีย และในอนุสรณ์อัลอันดะลุส ในคาบสมุทรไอบีเรีย นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา ซัลลีจญ์กลายมาเป็นองค์ประกอบการตกแต่งมาตรฐานสำหรับผนังตอนล่าง, ในน้ำพุ, สระน้ำ, บนหออะษาน และเป็นลายปูพื้น
ซัลลีจญ์ยุคศตวรรษที่ 20 ใน Mahkamat al-Pasha กาซาบล็องกา ประเทศโมร็อกโก
หลังศตวรรษที่ 15 มา ซัลลีจญ์แบบดั้งเดิมได้หมดความนิยมลงในหลายพื้นที่ ยกเว้นเพียงแค่โมร็อกโก ที่ซึ่งยังคงมีการผลิตซัลลีจญ์มาถึงปัจจุบัน(pp414–415) นอกจากนี้ยังพบในงานประดับของสิ่งปลูกสร้างยุคใหม่ เช่น มัสยิดฮัสซานที่ 2 ในกาซาบล็องกา ซึ่งใช้โทนสีใหม่ ๆ เพิ่มเติมจากรูปแบบดั้งเดิมอิทธิพลของซัลลีจญ์ยังปรากฏพบในงานกระเบื้องของสเปนที่ผลิตในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และงานลอกเลียนในยุคสมัยใหม่[8](p102)(p41)
การผลิต
กระเบื้องเคลือบรูปดาวแปดแฉก ก่อนจะนำมาประกอบเป็นซัลลีจญ์
การผลิตเริ่มต้นจากกระเบื้องเคลือบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดโดยทั่วไปอยูที่ 10x10 เซนติเมตร จากนั้นนำมาจัดด้วยมือ โดยใช้ค้อนเล็กคล้ายขวานแต่งไม้ แกะให้เป็นรูปที่ตั้งใจไว้ ซึ่งจำเป็นต่อการนำมาประกอบเป็นลวดลายใหญ่[2](p41)[1]:414 ถึงแม้ว่าลวดลายแน่ชัดจะแตกต่างกันไปตามกรณี แต่หลักการพื้นฐานยังคงเหมือนเดิมมาหลายศตวรรษ และช่างฝีมือชาวโมร็อกโกก็ยังคงทำเช่นนั้นเรื่อยมาถึงปัจจุบัน[2](pp41–43)
เมื่อนำกระเบื้องไปอบและตัดแล้ว กระเบื้องเหล่านี้จะถูกนำไปวางคว่ำหน้าบนพื้น และประกอบเข้ากันเป็นลวดลายที่ซับซ้อนตามที่ตัองการ ด้านหลังของกระเบื้องจะถูกเคลือบเข้าด้วยกันด้วยปูนปลาสเตอร์หรือไวท์วอชบาง ๆ เมื่อแห้งแล้ว ชั้นที่เคลือบนี้จะทำให้กระเบื้องชิ้นต่าง ๆ ติดเข้าด้วยกันเป็นแผ่นใหญ่(p55)(p33)(p16)(pp287–288)
รูปแบบและลวดลาย
ลวดลายเรขาคณิตของซัลลีจญ์สร้างขึ้นบนพื้นฐานของการฝังหินขัดเป็นลวดลาย ซึ่งเป็นวิธีการปิดพื้นผิวโดยใช้รูปแบบที่สามารถทำซ้ำและเชื่อมเข้ากันได้โดยไม่ต้องเหลื่อมซ้อนกันหรือทิ้งที่ว่างระหว่างกัน ลวดลายเช่นนี้สามารถขยับขยายไปได้ไม่มีสิ้นสุด(p21) ในศิลปะอิสลาม รูปแบบการฝังหินขัดเป็นลายที่สำคัญที่สุดมีรากฐานมาจากรูปหลายเหลี่ยมแบบปกติ รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานเช่นนี้ของศิลปะอิสลาม มาจากคุณค่าของการตกแต่งพื้นที่โดยไม่ให้แสดงภาพของสิ่งมีชีวิตใด ตามข้อห้ามการบูชารูปเคารพในศาสนาอิสลาม ธรรมเนียมการสร้างงานกระเบื้องอิสลามนี้ปรากฏในโลกอิสลามทั้งในแถบอิหร่าน, อานาโตเลีย และอนุทวีปอินเดีย
ในโลกอิสลามตะวันออกนิยมใช้สีน้ำเงินและเทอร์ควอยส์เป็นสีหลัก ในขณะที่ซัลลีจญ์แบบอิสลามตะวันตกนิยมใช้สีเหลือง เขียว ดำ และน้ำตาลอ่อน เป็นหลัก ส่วนน้ำเงินและเทอร์ควอยส์สามารถปรากฏได้เช่นกัน และมักปรากฏบนพื้นหลังที่เป็นสีขาว