ลองมาดู บาร์โค้ดอันแรกของโลก
รหัสแท่ง
บาร์โค้ด (Barcode) หรือ รหัสแท่ง มีลักษณะเป็นแถบสีดำสลับขาว มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านล่าง โดยแถบสีดำขาวนี้ จะทำหน้าที่แทนข้อมูลเป็นรหัสเลขฐานสอง โดยแปลงมาจากตัวเลขด้านล่าง ถ้าสังเกตดีๆจะเห็นว่า แถบสีดำขาวนั้นจะมีความกว้างของแถบที่ต่างกัน ซึ่งจะให้หลักการอ่านข้อมูลโดยใช้การสะท้อนของแสง โดยจำเป็นต้องใช้คู่กับเครื่องยิงบาร์โค้ด โดยหลักแล้วใช้สำหรับบันทึกข้อมูลของสินค้า และเป็นระบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
กำเนิดบาร์โค้ด
“บาร์โค้ดอันแรกของโลก” เกิดมาจากแนวคิดของ Wallace Flint มีแนวคิดเรื่องของการใช้ บัตรเจาะรู กำหนดรหัสสินค้า เมื่อลูกค้าเลือกสินค้าได้แล้วก็จะนำบัตรสินค้านั้นไปใส่เครื่องอ่าน ระบบก็จะนำสินค้าออกมาให้พร้อมทั้งออกบิลและตัดสต๊อกให้อัตโนมัติ
บัตรเจาะรู
ในส่วนของ บาร์โค้ด ที่อ่านข้อมูลโดยใช้หลักการสะท้อนของแสงนั้น ถูกประดิษฐ์ขึ้นโดย Bernard Silver และ Norman Joseph Woodland โดยตอนนั้น Bernard ได้ยินเจ้าของร้านสินค้าร้านหนึ่ง ปรึกษากับคณบดีว่า อยากให้มีระบบจัดเก็บและอ่านข้อมูลของสินค้า รวมถึงการชำระเงินแบบอัตโนมัติ เขาจึงร่วมมือกับ Joseph เพื่อนของเขาสร้างระบบบาร์โค้ดขึ้นมา หลังจากลองผิดลองถูกมาหลายวิธี พวกเขาก็ได้จดสิทธิบัตร บาร์โค้ดอันแรกของโลก ขึ้นมา
สิทธิบัตรบาร์โค้ดของ Bernard และ Joseph
บาร์โค้ดรูปแท่ง
ปี ค.ศ.1974 ได้มีการพัฒนาบาร์โค้ด รวมถึงเครื่องสแกนบาร์โค้ดขึ้น ใช้งาน โดยร้านแรกของโลกที่นำระบบนี้ไปใช้คือ Marsh’s ซุปเปอร์มาร์เก็ต และ สินค้าชิ้นแรกที่ถูกสแกนด้วยบาร์โค้ดรูปแท่ง ก็คือ หมากฝรั่ง Wringley’s Juicy Fruit
ปัจจุบันนี้มาตรฐานบาร์โค้ดในปัจจุบัน ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ทั่วโลก แต่นอกจาก บาร์โค้ดที่เป็นรูปแท่งขาวดำแล้ว ได้มีการพัฒนาบาร์โค้ดในรูปแบบต่างขึ้นมาอีกด้วย โดยที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบันคือ QR Code ซึ่งจะมีการแปลงรหัสข้อมูลตัวอักษรเก็บไว้ได้มากกว่า บาร์โค้ดแบบแท่ง คิวอาร์โค้ดที่เราพบเห็นบ่อยๆ คือนำมาเก็บของมูล URL ของเว็บไซต์ ซึ่งสามารถใช้กล้องมือถือแสกนแล้วกดลิ้งเข้าเว็บไซต์ได้เลย