ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

หะวามหัลพระราชวัง ที่คล้ายกันกับรูปรวงผึ้งออกแบบเพื่อสตรีชั้นสูงที่อาศัยในวังมองสังเกตชีวิตของผู้คนธรรมดา

หะวามหัลพระราชวัง ที่คล้ายกันกับรูปรวงผึ้งออกแบบเพื่อสตรีชั้นสูงที่อาศัยในวังมองสังเกตชีวิตของผู้คนธรรมดา

👉🏿หะวามหัล หรือ ฮาวามาฮาล (ฮินดี: हवामहल; Hawa Mahal) เป็นพระราชวังในนครชัยปุระ ประเทศอินเดีย สร้างขึ้นจากหินทรายแดงและชมพู ตั้งอยู่บนของของซิตีพาเลส และมีอาณาเขตไปถึงพื้นที่ เซนานา หะวามหัลสร้างขึ้นในปี 1799 โดยมหาราชา สวาอี ปรตาป สิงห์ หลานของมหาราช สวาอี ชัย สิงห์ ที่สอง ผู้ก่อตั้งนครชัยปุระ สร้างขึ้นหลังได้รับแรงบัลดาลใจมาจากเขตรีมหัล

👉🏿ข้อมูลเบื้องต้น หะวามหัล, ชื่ออื่น ...

หะวามหัล (รัฐราชสถาน)
ชื่ออื่น
พระราชวังแห่งสายลม
ข้อมูลทั่วไป
สถาปัตยกรรม ราชปุต
ประเทศ อินเดีย
พิกัด
26.9239°N 75.8267°E
แล้วเสร็จ 1799
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้าง หินทรายแดงชมพู
การออกแบบและการก่อสร้าง
ผู้รับเหมาก่อสร้าง มหาราชา สวาอี ปรตาป สิงห์

👉🏿หะวามหัลเป็นผลงานออกแบบโดย ลาล จันท์ อูสตาด (Lal Chand Ustad) โครงสร้างฟาซาดด้านนอกสูงห้าชั้นคล้ายกันกับรูปรวงผึ้ง ประกอบด้วยหน้าต่างเล็กฌโรขาจำนวน 953 บาน ประดับประดาอย่างวิจิตรด้วยงานแลททิส 

👉🏿งานออกแบบแลททิสนี้มีเป้าหมายเดิมทีเพื่อให้สตรีชั้นสูงที่อาศัยในวังสามารถมองออกมาสังเกตชีวิตของผู้คนธรรมดา หรือเทศกาลเฉลิมฉลองต่าง ๆ บนถนนด้านนอกของหะวามหัลได้ สตรีชั้นสูงเหล่านี้ต้องปฏิบัติตามกฎ "ปูรดาห์" ซึ่งห้ามมิให้เปิดเผยใบหน้าของตนในที่สาธารณะ งานออกแบบนี้ยังช่วยให้อากาศเย็นพัดเข้ามาภายในหะวามหัล ด้วยหลักการของปรากฏการณ์เวนทูรี จึงทำให้พื้นที่ภายในยังคงอุณหภูมิที่ไม่ร้อนมากเกินไปในช่วงฤดูร้อนของชัยปุระ คนจำนวนมากมักเข้าใจผิดว่าฟาซาดของหะวามหัลที่เห็นนี้เป็นด้านหน้าของวัง แต่จริง ๆ คือด้านหลังของวัง

ในปี 2006 ได้มีการบูรณะหะวามหัลครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ด้วยมูลค่ารวมราว 4.568 ล้านรูปี ภายใต้ยูนิตทรัสต์ออฟอินเดีย

สถาปัตยกรรม

ดูเพิ่มเติมที่: สถาปัตยกรรมราชปุต

วังหะวามหัลมีความสูง 5 ชั้น, 50 ฟุต (15 เมตร) สามชั้นบนสุดของอาคารมีความกว้างประมาณห้องหนึ่งห้อง ในขณะที่ชั้นหนึ่งและสองมีปาติโอยื่นออกมา ภายในวังหะวามหัลประกอบด้วยห้องที่ประดับด้วยหินอ่อนสีต่าง ๆ ประดับด้วยงานฝังและปิดทอง ใจกลางมีคอร์ทยาร์ดที่ตรงกลางมีน้ำพุ

สถาปนิกผู้ออกแบบหะวามหัลคือลาล จันท์ อูสตา โดยสร้างด้วยหินทรายสีแดงชมพูเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกีบการประดับสิ่งปลูกสร้างอื่นในนคร ฟาซาดของหะวามหัลประกอบด้วยนีชจำนวน 953 บาน ที่ประดับด้วยงานแกะสลักฌโรขาอย่างวิจิตร ในขณะที่ด้านในของวังไม่ได้มีการประดับประดาเป็นพิเศษอย่างวิจิตรมากนัก งานออกแบบหะวามหัลเป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมราชปุต และ สถาปัตยกรรมโมกุล โดยที่ลักษณะแบบราชปุตพบได้ในงานออกแบบโดม, เสา และลวดลายดอกบัวกับดอกไม้

👉🏿รูปแบบอิสลามแบบโมกุลที่พบได้สามารถพบในงานลงฟิลิกรีและตามส่วนโค้งของอาคาร ซึ่งแยกจากลักษณะที่คล้ายที่พบได้ที่ปัญจมหัลในฟาเตหปุระสิกรี

ทางเข้าหะวามหัลจากฝั่งซิตีพาเลสจะเข้าผ่านทางประตูหลวง (imperial door) เมื่อเข้าไปจะพบกับลานกว้างที่มีอาคารสองชั้นล้อมรอบอยู่สามด้าน หะวามหัลคืออาคารที่ปิดล้อมฝั่งตะวันออก ในลานนี้ปัจจุบันยังมีพิพิธภัณฑ์โบราณคดีตั้งอยู่เช่นกัน

👉🏾หะวามหัลยังขึ้นชื่อว่าเป็น chef-d'œuvre (ผลงานชิ้นเอก) ของมหาราชา ชัย สิงห์ เนื่องจากที่นี่เป็นที่แปรพระราชฐานโปรดของมหาราชา นอกจากนี้ ภายในหะวามหัลยังมีความเย็นอันเป็นผลจากลมที่ผ่านตามรูเปิดเล็ก ๆ ของหน้าต่าง ประกอบกับน้ำพุใจกลางลานกว้าง

ชั้นบนสุดสองชั้นของหะวามหัลสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางลาดเท่านั้น ปัจจุบันหะวามหัลอยู่ภายใต้การทำนุบำรุงดูแลของกรมโบราณคดี รัฐบาลรัฐราชสถาน

สรุปจุดประสงค์ของพระราชวังนี้ที่สร้างมาแต่เดิมนั้น เพื่อต้องการให้นางสนมนางในที่ปรนนิบัติ มหาราชา อยู่นั่นเองแล้วพอมีงานเทศกาลอะไรหรืออยากจะดูชีวิตคนธรรมดา  หรือ งานเทศกาล เพราะข้อห้ามมิให้ นางสนม มเหสี หญิงชั้นสูงในวัง ไม่สามารถออกมาจากข้างนอกได้ ....ทำไว้เพื่อให้สำหรับนางสนมสตรีชั้นสูงที่อยู่ในวังก็ให้แอบมาดูหนุ่มหล่อๆงานเทศกาลต่างๆตามช่องหน้าต่างที่มีมากมายของพระราชวังนั่นเอง

มันก็เป็นแบบนี้ล่ะครับ สมัยโบราณหรือว่าสมัยนี้...ไม่ว่ามหาราชา หรือ สุลต่าน อะไรๆแม้แต่ ราชา กษัตริย์ สมัยไหนๆ ก็เถอะ มักจะมีความคิดคล้ายๆกันคือมีภรรยา มเหสี มากมายหรือมีนางสนม นางใน สาวสวยๆ ไว้ปรนนิบัติพัดวี รับใช้ บีบนวด ...สะสม ครั้งละหลายๆคน อัน นั้นเป็นสมัยโบราณนะครับ หรือ ว่าวัฒนธรรมไหนก็มีเหมือนกันหมดแม้แต่ในปัจจุบัน

 

รายการบล็อกของฉัน