ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

สัตว์ประหลาดลึกลับไร้ก้นในฟอสซิล 530 ล้านปี ยุคแคมเบียน อาจจะไม่ใช่บรรพบุรุษมนุษย์

สัตว์ประหลาดลึกลับไร้ก้นในฟอสซิล 530 ล้านปี ยุคแคมเบียน อาจจะไม่ใช่บรรพบุรุษมนุษย์

พบซากฟอสซิลของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เหมือนถุงเล็ก ๆ แต่กลับมีปากกว้างใหญ่เกินตัวและไร้ทวารสำหรับขับถ่าย เคยตกเป็นข่าวดังเมื่อปี 2017 เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อ้างว่า มันคือบรรพบุรุษของมนุษย์รุ่นเก่าแก่ที่สุด เท่าที่เคยมีการค้นพบมา

👉🏿ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจคำว่า ยุคแคมเบียน ยุคแคมเบรียน (อังกฤษ: Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน  

อ่านสาระข้อมูลเพิ่มเติมท้ายบทความนี้นะครับก่อนนะครับ

🦀🦞ทว่าผลการศึกษาล่าสุดซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Nature ชี้ชัดว่าสัตว์ประหลาดโบราณที่เคยมีชีวิตอยู่ในต้นยุคแคมเบรียนเมื่อราว 530 ล้านปีก่อน แท้ที่จริงคือต้นตระกูลของสัตว์จำพวกปูและแมงมุม ไม่ได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทางวิวัฒนาการกับมนุษย์หรือวานรแต่อย่างใด

👉🏿สัตว์โบราณดังกล่าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Saccorhytus coronarius ถูกค้นพบเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในชั้นหินที่เคยเป็นก้นทะเลในยุคดึกดำบรรพ์มาก่อน บริเวณมณฑลชานซีหรือส่านซีทางตอนใต้ของจีน โดยมันมีขนาดลำตัวเล็กจิ๋วเพียง 1.3 มิลลิเมตร แต่มีปากกว้างเกินตัวถึง 0.5 มิลลิเมตร ซึ่งคาดว่าเป็นช่องเปิดของร่างกายที่มันใช้ทั้งกินอาหารและขับถ่ายไปในตัว

👉🏿เมื่อหลายปีก่อนทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของสหราชอาณาจักร ได้เสนอผลวิเคราะห์โครงสร้างร่างกายของ S.coronarius ไว้ว่า ช่องเปิดเล็ก ๆ ที่อยู่โดยรอบปากกว้างของมันนั้น ต่อมาได้วิวัฒนาการกลายมาเป็นเหงือกปลา ซึ่งบ่งชี้ว่ามันคือต้นตระกูลที่เป็นบรรพบุรุษร่วมของสัตว์จำพวก deuterostome ที่รวมถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดและมนุษย์ด้วย

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยบริสตอลของสหราชอาณาจักรได้คัดค้านข้อเสนอดังกล่าว หลังจากใช้เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนถ่ายภาพรังสีเอกซ์ 3 มิติ ที่มีความละเอียดสูงกับฟอสซิล S.coronarius อีกครั้ง

พวกเขาพบว่าช่องเปิดเล็ก ๆ รอบปาก ที่เชื่อว่าได้วิวัฒนาการไปเป็นเหงือกปลานั้น แท้ที่จริงเป็นรูโหว่ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ หลังอวัยวะส่วนที่เป็นรยางค์ เช่นขา ก้าม หรือหนวด ได้หักออกไปแล้ว

ด้วยเหตุนี้ ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยบริสตอลจึงได้จัดให้ S.coronarius อยู่ในกลุ่มของสัตว์จำพวก ecdysozoan ซึ่งรวมถึงแมลง สัตว์น้ำมีเปลือกแข็ง และหนอนตัวกลม โดยส่วนของรยางค์ที่ยื่นออกมานั้นน่าจะช่วยในการจับเหยื่อที่พื้นทรายก้นมหาสมุทร แต่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่ามันกินอะไรเป็นอาหาร

การค้นพบล่าสุดนี้ ทำให้นักบรรพชีวินวิทยาต้องค้นหาต้นตระกูลของสัตว์จำพวก deuterostome กันต่อไป เพื่อไขปริศนาและเติมเต็มช่องว่างในสายวิวัฒนาการของคนเรา รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด  

สาระข้อมูลเพิ่มเติม

ยุคแคมเบรียน (อังกฤษ: Cambrian) เป็นธรณีกาลยุคแรกของมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ในช่วง 542 ± 0.3 ล้านปีมาแล้วถึง 488.3 ± 1.7 ล้านปีมาแล้ว ก่อนจะเข้าสู่ยุคออร์โดวิเชียน คำว่าแคมเบรียนตั้งโดย อดัม ซิดก์วิค (Adam Sedgwick) เป็นชื่อโรมันของเวลส์ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบหินยุคแคมเบรียนดีที่สุดของอังกฤษ

ยุคแคมเบรียนเป็นช่วงสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตบนโลก ก่อนยุคแคมเบรียน สิ่งมีชีวิตนั้นมีขนาดเล็กและเรียบง่าย ก่อนจะค่อยๆเป็นองค์ประกอบซับซ้อนในอีกล้านปีถัดมาก่อนหน้ายุคแคมเบรียน รูปแบบของสิ่งมีชีวิตมีความหลากหลายและเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการ “ระเบิด” ทางชีวภาพ

ที่จู่ๆสิ่งมีชีวิตก็เกิดอุบัติมาพร้อมๆกันในช่วงเวลาเดียวกัน ปรากฏการณ์ดังกล่าวเรียกว่า Cambrian explosion หรือ Biological Big Bang สิ่งมีชีวิตที่บังเกิดขึ้นมีหน้าตาก็ล้วนแปลกประหลาดอัศจรรย์ทั้งสิ้น เป็นสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังอาศัยอยู่ในทะเล เช่น ไทรโลไบต์ เป็นต้น พืชส่วนใหญ่เป็นสาหร่ายสีเขียว ในยุคนี้ไม่พบสิ่งมีชีวิตบนพื้นดิน

👉🏿บทสรุปสุดท้ายตอนจบ ถ้าฟอสซิลสัตว์ประหลาดที่พบนี้ เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์อ้างว่า มันคือบรรพบุรุษของมนุษย์รุ่นเก่าแก่ที่สุด ....เท่าที่เคยมีการค้นพบมา... เมื่อนักวิทยาศาสตร์อ้างข้อมูลมาแบบนี้มันก็ไปขัดกับหลักศาสนาที่อ้างว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์...ผมคิดว่าเราควรจะเชื่อหลักวิทยาศาสตร์ดีกว่า เพราะว่ามันสามารถอ้างเหตุผลข้อมูลมีที่มาที่ไปได้

😁ส่วนถ้าเราจะเอาไปปะปนกับความเชื่อทางศาสนาที่อ้างว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์สร้างนั่นสร้างนี่สร้างจักรวาลสารพัด ความเชื่อก็อาจจะขัดแย้งกันกับหลักความเชื่อทางวิทยาศาสตร์

🙄เอาเป็นว่าใครอยากเชื่ออะไรแบบไหนก็เชื่อกันไปก็แล้วกัน...บทสรุปของบทความนี้ก็มีสาระข้อมูลเท่าที่มานำเสนอนี่แหละครับ....

รายการบล็อกของฉัน