ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

พบฟอสซิล​ “ชิ้นส่วนปอด” ของปลาโบราณอายุ 66 ล้านปีในประเทศโมร็อกโก​โดยบังเอิญ

ขุดพบฟอสซิล​ชิ้นส่วนปอดของปลาดึกดำบรรพ์ตัวใหญ่พอๆกับฉลามขาว พบฟอสซิล​ “ชิ้นส่วนปอด” ของปลาโบราณอายุ 66 ล้านปีในประเทศโมร็อกโก​โดยบังเอิญ

นัก​บร​ร​พชีวิน​วิทยา​เชื่อว่าชิ้นส่วนฟอสซิลดังกล่าว เป็นส่วนของปอดปลาในลำดับเดียวกับปลา “ซีลาแคนท์” ซึ่งหากยึดตามนี้ ปลาตัวนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าปลาซีลาแคนท์ที่พบในทุกวันนี้มาก ความยาวหัวถึงหางของปลาโบราณตัวนี้น่าจะยาวถึง 5.2 เมตร​เลยทีเดียว ขนาดน่าจะพอๆกับฉลามขาว

ที่มาของฟอสซิลนี้ยิ่งน่าแปลกเข้าไปอีก คือพบว่าปะปนอยู่กับฟอสซิลชิ้นส่วนอื่นๆของไดโนเสาร์มีปีก “เทอโรซอร์” บนแผ่นหินที่ได้มาจากเมืองอวดเซมในโมร็อกโก​ ซึ่งเป็นที่ๆไม่เคยมีใครพบฟอสซิล​ปลาซีลาแคนท์มาก่อน

“ปลาซีลาแคนท์ที่เป็นเจ้าของปอดนี้ตัวใหญ่มาก และมันมีชีวิต​อยู่ในยุคเดียวกับทีโรซอร์นั่นคือ​ยุคครีเทเชียส เมื่อ 66 ล้านปีก่อน ซึ่งเป็นยุคสุดท้ายของเหล่าไดโนเสาร์​ทั้งปวง” ศาสตราจารย์​ดอกเตอร์​ David Martill ผู้เชี่ยวชาญ​ด้านเนื้อเยื่อพืชและสัตว์​โบราณ​จากมหาวิทยาลัย​ Portsmouth ในอังกฤษ​อธิบาย

นักสะสมฟอสซิล”เทอโรซอร์” คนหนึ่ง ได้ซื้อแผ่นหินที่มีฟอสซิลหลากหลายชิ้นนี้มาจากพ่อค้าฟอสซิลรายหนึ่ง​ในโมร็อกโก​ และในช่วงแรกเขาก็เข้าใจไปเองว่า ชิ้นส่วนแปลกๆที่เห็นคือหัวกระโหลกของ “เทอโรแดคทิลลัส” แต่ก็ไม่แน่ใจ สุดท้ายก็ลองติดต่อผู้เชี่ยวชาญ​ด้านนี้นั่นคือดอกเตอร์​ David Martill ให้เข้ามาตรวจสอบ​ดู

“ตอนแรกที่เขาส่งภาพให้ผมดู ผมก็ดูไม่ออกว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่แน่ใจว่าไม่ใช่กระโห​ลก​ “เทอโรซอร์” แน่นอน” ดอกเตอร์​ David Martill กล่าว

สุดท้ายผมก็ต้องเดินทางไปดูด้วยตา และก็พบลักษณะ​ที่เด่นชัด มันเป็นปอดที่ห่ออยู่ในโครงสร้างกระดูก​รูปถัง โครงสร้างปอดแบบนี้บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นปอดของปลาในลำดับเดียวกับปลาซีลาแคนท์อย่างแน่นอน เพราะเราไม่พบว่ามีในสัตว์โบราณ​ชนิดอื่น

เพื่อให้มั่นใจ ดอกเตอร์​ David Martill ได้ติดต่อผู้​เชี่ยวชาญ​เฉพาะ​ด้าน​ปลาซีลาแคนท์ระดับโลก​อีกท่านหนึ่งคือ Paulo Brito จากมหาวิทยาลัย​ดีโอเดอจาเนโร มาช่วยตรวจสอบ และผลก็ออกมา​ในทางเดียวกัน

“ปลาซีลาแคนท์ทั่วไปในยุคนั้นจะมีขนาดราว 3-4 เมตร แต่ตัวที่เห็นนี้มันใหญ่เกินปกติไปมาก ถึงอย่างนั้นมันก็ยังเป็นปลาในลำดับเดียวกันกับปลาซีลาแคนท์ที่ทุกวันนี้ตัวที่ยังมีชีวิตที่จับได้มีขนาดเมตรกว่าๆเท่านั้น” Paulo Brito อธิบาย

และเราได้พบร่อวรอยบาดแผลบนชิ้นปอดนี้ด้วย เราจึงสันนิษฐาน​ว่า เจ้าปลาซีลาแคนท์ยักษ์​ตัวนี้ น่าจะตายเพราะถูก​กัดกิน​โดยนักล่าแห่งท้องทะเลครีเทเชียสที่มีร่างกายใหญ่โต​กว่ามันอย่าง โมซาซอร์ หรือ พลีซิโอซอร์ อย่างแน่นอน

ด้วยความเสียดาย แต่สุดท้ายเจ้าของแผ่นหินที่มีฟอสซิล​ปอดปลาซีลาแคนท์ก็ยอมให้ดอกเตอร์​ David Martill ตัดเอาชิ้นส่วนบริเวณนั้นไปศึกษา​ต่อ และสุดท้ายก็ยอมบริจาคให้มหาวิทยาลัย​ Hassan II University of Casablanca ในโมร็อกโก​

 ​

รายการบล็อกของฉัน