ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นักวิจัยจีน-สิงคโปร์ทำแมวและปลาทองล่องหน

แผนภาพอธิบายหลักการล่องหน
นักวิจัยจีน-สิงคโปร์ทำแมวและปลาทองล่องหน โดยใช้เทคนิคจัดเรียงแผ่นกระจกเพื่อหักเหแสง โดยนักวิทยาศาสตร์หวังว่าเทคโนโลยีจะถูกนำไปใช้เพื่อการรักษาความปลอดภัย ความบันเทิง หรือแม้แต่การป้องกันประเทศ
แมวล่องหนไปบางส่วนหลังจากเอาหัวเข้าไปในอุปกรณ์ล่องหน 

ศ.หงเซิง เฉิน (Prof. Chen Hongsheng) นักวิจัยจากสถาบันแม่เหล็กไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University) ในจีน และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (Nanyang Technological University) ในสิงคโปร์ ประสบความสำเร็จในการทำให้แมวและปลาทองล่องหน ด้วยเทคโนโลยีหักเหแสง และไม่ส่งผลกระทบต่อวัตถุ หรือสิ่งที่ถูกทำให้ล่องหน
แผนภาพอธิบายหลักการล่องหนของปลาทอง

วัตถุที่เปรียบเสมือน “ผ้าคลุมล่องหน” ของแฮร์รี พอตเตอร์นี้ สร้างขึ้นจากแผ่นแก้วบางๆ ที่มำให้วัตถุหายไปด้วยการหักเหแสงที่อยู่รอบๆ วัตถุนั้น แต่ ศ.เฉิน ให้สัมภาษณ์วอนท์ไชน่าไทม์สว่า เทคโนโลยียังอยู่ในขั้นพัฒนาเบื้องต้น ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดเมื่อแสงมาจากมุมเดียวเท่านั้น และยังทำให้วัตถุล่องหนได้ภายใต้สเปกตรัมแคบๆ ของแสงเท่านั้น

ทีมวิจัยของ ศ.เฉิน ยังร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสิงคโปร์ เพื่อขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยี โดยพวกเขาพบว่าตาของมนุษย์นั้นไม่ไวต่อช่วงแสงและการถ่วงเวลาของแสงนานนาที ส่วนเหตุผลที่เลือกใช้กระจกสร้างอุปกรณ์ล่องหน เนื่องจากเป็นวัตถุโปร่งใส และมีพื้นผิวเรียบ ซึ่งสามารถจัดการได้ง่ายและไม่ต้องอาศัยนาโนเทคโนโลยี
ส่วนตัวของปลาทองหายไปหลังอุปกรณ์ล่องหน
อุปกรณ์ที่พวกเขาพัฒนาขึ้นเป็นลักษณะหกเหลี่ยม ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดเมื่อฉายแสงตรงๆ ไปยังทั้ง 6 มุม แต่อุปกรณ์ล่องหนจะทำให้วัตถุหายไปได้เพียงแค่ 2 มุมเท่านั้น โดย ศ.เฉิน กล่าวว่า อุปกรณ์นี้สามารถใช้งานในด้านการรักษาความปลอดภัย ความบันเทิง และการป้องกันประเทศ ซึ่งทีมวิจัยจะได้พัฒนาอุปกรณ์นี้ต่อไปและทำให้มีน้ำหนักเบาลงด้วย ทั้งนี้พวกเขาได้ตีพิมพ์ผลงานลงวารสารเนเจอร์คอมมูนิเคชัน 
(Nature Communication) เมื่อเดือนที่ผ่านมา

รายการบล็อกของฉัน