ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

นักโบราณคดี-ยืนยันค้นพบ Godzilla Shark ฉลาม-ก็อดซิลล่า อายุ 300 ล้านปี


หลังวิจัย 7 ปีเต็ม นักโบราณคดี-ยืนยันค้นพบ “Godzilla Shark” (ฉลาม-ก็อดซิลล่า) อายุ 300 ล้านปี

การค้นพบฟอสซิลของสิ่งชีวิตดึกดำบรรพ์ชนิดนี้ นอกจากจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับนักบรรพชีวินแล้ว ยังมีความสำคัญในการปะติดปะต่อเส้นทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตยุคปัจจุบัน และอาจเชื่อมโยงมาถึงเส้นทางวิวิฒนาการของมนุษย์ได้

สิ่งมีชีวิตหนึ่งที่จัดว่ามีบรรพบุรุษสืบมาตั้งแต่ยุคโบราณคือ “ฉลาม” ซึ่งก่อนหน้านี้มีการค้นพบฟอสซิลบรรพบุรุษของฉลามเมื่อปี 2013 ย้อนช่วงอายุไปได้นานถึง 300 ล้านปีเลยทีเดียว โดยนักบรรพชีวินได้ให้ชื่อเล่นกับมันไว้ว่า “ฉลามก็อดซิลล่า” (Godzilla Shark)

ฟอสซิลของฉลามก็อตซิลล่าที่ค้นพบในปี 2013 ถือว่ามีโครงสร้างค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยชิ้นส่วนของกระดูกที่ทำให้ทราบว่าพวกมันน่าจะมีขนาดตัวยาวกว่า 2 เมตร, ชิ้นส่วนของฟันจำนวน 12 แถว และครีบหลังที่ยาว 0.8 เมตร ด้วยขนาดอันใหญ่ยาวของมันจึงได้สมญานามว่า เจ้าฉลาดก็อดซิลล่า นั่นเอง

หลังการค้นพบมาแล้วกว่า 7 ปี ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ก็เห็นพ้องต้องกัน ที่จะให้ชื่อทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการว่า Dracopristis hoffmanorum ซึ่งแปลว่า ฉลามมังกรของฮอฟฟ์แมน (Hoffman’s Dragon Shark) เพื่อเป็นเกียรติให้กับครอบครัวที่เป็นเจ้าของที่ดินในพื้นที่ของภูเขาแมนซาโน รัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ค้นพบฟอสซิล

สิ่งที่ทำให้ฉลามก็อดซิลล่าแตกต่างไปจากฉลามในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด คือส่วนของฟันทั้งหมด 12 แถว ที่มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูมมากกว่าที่จะมีลักษณะคล้ายหอกเหมือนฟันของฉลามในปัจจุบัน ฟันลักษณะนี้จึงเหมาะที่จะใช้ในการกัดและบดขยี้เหยื่อให้ละเอียด แรงกัดของมันคงมากมายมหาศาลและใช้จัดการกับเหยื่อขนาดใหญ่หรือมีร่างกายทนทานได้เป็นอย่างดี

แล้วมันเข้ามาเติมเต็มเส้นทางวิวิฒนาการได้อย่างไร ? ตอบ : สิ่งที่ยังขาดหายไปสำหรับสายวิวิฒนาการของฉลาม คือความเชื่อมโยงระหว่างฉลามและปลากระเบน การค้นพบฟอสซิลของฉลามก็อดซิลล่าจึงเป็นการค้นพบจิ๊กซอว์ที่ยังขาดหายไปในฐานะของสัตว์ในวงศ์ Ctenacanthus ซึ่งแยกออกมาจากวงศ์ของฉลามและปลากระเบนเมื่อ 390 ล้านปีก่อน และสูญพันธุ์ไปเมื่อ 60 ล้านปีก่อนนั่นเอง

นี่คือฟันของฉลามก็อตซิลล่า
การค้นพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตในทะเลอย่างฉลาดก็อดซิลล่า ทำให้ทราบว่าพื้นที่นิวเม็กซิโกน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนมาเป็นเขตป่าฝนจากการค้นพบฟอสซิลของไดโนเสาร์ไทแรนโนซอรัส ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโลกของเราผ่านการแปรเปลี่ยนมานับหลายล้านปี ไม่แน่พื้นที่หลังบ้านของคุณอาจมีฟอสซิลของสัตว์ทะเลดึกดำบรรพ์ฝังอยู่ก็เป็นได้

– สาเหตุการสูญพันธุ์ของเมกาโลดอน (Megalodon) ฉลามที่ใหญ่และแข็งแกร่งที่สุดในท้องทะเลที่เคยมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 16 ล้านปีก่อน ระหว่างยุคไมโอซีน (Miocene) ถึงไพลโอซีน (Pliocene) และสูญพันธุ์ไปเมื่อราว ๆ 2 ล้านปีก่อน มาจากการ การไม่ยอมปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของโลก 

โดยเหตุการณ์การสูญพันธุ์ของเมกาโลดอนเกิดขึ้นเป็นลำดับดังนี้ เริ่มจากระดับน้ำลดลงกระทันหัน 
– วาฬเบลีนและแมวยักษ์ไม่มีที่อยู่ 
– ทำให้เมกาโลดอนไม่มีอาหารกิน 
– รวมถึงไม่มีแหล่งขยายพันธุ์ 
– สุดท้ายเมื่อไม่มีทั้งอาหารและแหล่งขยายพันธุ์ 
– พวกมันจึงสูญพันธุ์ในที่สุด

รายการบล็อกของฉัน