อาถรรพ์ธรณีประตู!!
ความน่ากลัวที่มองไม่เห็น โบราณเตือนนักเตือนหนา!! แม้แต่ มรว.คึกฤทธิ์ ยังกล่าวถึง ในนิยาย "สี่แผ่นดิน"!!
อาถรรพ์ธรณีประตู!! ความน่ากลัวที่มองไม่เห็น โบราณเตือนนักเตือนหนา!! แม้แต่ มรว.คึกฤทธิ์ ยังกล่าวถึง ในนิยาย "สี่แผ่นดิน"!!
ความน่ากลัวที่มองไม่เห็น โบราณเตือนนักเตือนหนา!! แม้แต่ มรว.คึกฤทธิ์ ยังกล่าวถึง ในนิยาย "สี่แผ่นดิน"!!
อาถรรพ์ธรณีประตู!! ความน่ากลัวที่มองไม่เห็น โบราณเตือนนักเตือนหนา!! แม้แต่ มรว.คึกฤทธิ์ ยังกล่าวถึง ในนิยาย "สี่แผ่นดิน"!!
คนสมัยก่อนห้ามมิให้เหยียบธรณีประตู เพราะที่ธรณีประตูนั้นเป็นที่สถิตของพระภูมิประตู (พระภูมิมีอยู่ ๙ องค์ เช่น พระภูมิบ้านเรือน พระภูมิประตูและหัวกระได พระภูมินา เป็นต้น) การเหยียบธรณีประตูจึงเท่ากับเป็นการลบหลู่พระภูมิประตูนั่นเอง (ในบางท้องถิ่นเชื่อว่าธรณีประตูมี “ผีธรณี” รักษาอยู่“ซองคำถาม” เข้าใจว่าน่าจะมีความหมายเดียวกันกับพระภูมิประตู)
ใน “สี่แผ่นดิน” อมตนิยายของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็กล่าวถึงความเชื่อเรื่องนี้ไว้ในตอนที่แม่พาพลอยเข้าวังเป็นครั้งแรกว่า ที่ประตูวังชั้นในมีหญิงแก่บ้างสาวบ้าง เรียกว่า โขลน ทำหน้าที่เฝ้าประตูวัง ใครที่ก้าวข้ามไม่พ้นเผลอเหยียบธรณีประตูจะต้องถูกตีหรือต้องกราบขอขมาธรณีประตูนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์บรรยายธรณีประตูที่ประตูวังชั้นในไว้ว่า
“ธรณีประตูนั้นทำด้วยไม้เหลี่ยมค่อนข้างใหญ่... มีรอยคนมาปิดทองไว้บ้างเป็นระยะ ๆ และใกล้ ๆ ขอบประตูนั้นก็มีธูปปักอยู่ที่ริมขอบประตู” นี่แสดงว่าเรื่องธรณีประตูเป็นความเชื่อที่ฝังแน่นอยู่ในหมู่คนไทยมาช้านาน
ใช่แต่คนไทยเท่านั้น ชาวโรมันก็เชื่อว่า ที่ตรงธรณีประตูเรือนทุกเรือนมีผีหรือเทวดาผู้ชายเฝ้าอยู่ ชื่อว่า เยนุส (Janus)