ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแองจิโอสเปิร์มส์ (Angiosperms) หรือพืชดอก ที่เป็นพืชมีระบบท่อลำเลียง มีดอกเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ ส่วนของเมล็ดก็มีรังไข่ห่อหุ้ม เกิดขึ้นในโลกไม่เกิน 130 ล้านปีที่ผ่านมา
แต่เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์นานาชาติได้ค้นพบพันธุ์ดอกไม้ชนิดหนึ่งในประเทศจีน ก็ทำให้สั่นคลอนความเชื่อเดิมๆ เพราะดอกไม้ดังกล่าวได้เพิ่มข้อมูลใหม่ด้านทฤษฎีการวิวัฒนาการของพืชดอกเกี่ยวกับช่วงเวลาการกำเนิดขึ้นของพืชดอกบนโลก
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาตัวอย่างของซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิล (fossil) ดอกไม้ 198 ชิ้นที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในหิน 34 ก้อนจากพื้นที่หมวดหินเซี่ยงซานตอนใต้ ในนครหนานจิงของจีน
ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการค้นพบซากฟอสซิลจากต้นยุคจูราสสิก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิงได้ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์จนได้ภาพความละเอียดสูงของดอกไม้จากมุมที่ต่างกัน
และใช้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างซากฟอสซิลที่แตกต่างกันมาสร้างลักษณะของดอกไม้
โดยตั้งชื่อว่า
“หนานจิงแอนธัส เดนโดรสไตลา” (Nanjinganthus
dendrostyla)
หลักฐานใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่าจริงๆแล้วพืชดอกน่าจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าของความเชื่อเดิม
ราวๆ 50 ล้านปี ซึ่งอยู่ประมาณ 174 ล้านปีที่แล้วและตรงกับต้นยุคจูราสสิก
ซึ่งมีชื่อเสียงด้านการค้นพบซากฟอสซิลจากต้นยุคจูราสสิก นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิงได้ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์จนได้ภาพความละเอียดสูงของดอกไม้จากมุมที่ต่างกัน
และใช้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างซากฟอสซิลที่แตกต่างกันมาสร้างลักษณะของดอกไม้
โดยตั้งชื่อว่า
“หนานจิงแอนธัส เดนโดรสไตลา” (Nanjinganthus
dendrostyla)
หลักฐานใหม่นี้ชี้ให้เห็นว่าจริงๆแล้วพืชดอกน่าจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้าของความเชื่อเดิม
ราวๆ 50 ล้านปี ซึ่งอยู่ประมาณ 174 ล้านปีที่แล้วและตรงกับต้นยุคจูราสสิก
การค้นพบนี้มีความสำคัญต่อการยืนยันสถานะของซากฟอสซิลหนานจิงแอนธัส เดนโดรสไตลา ว่าเป็นพืชดอกชนิดใหม่ และอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับพืชดอก
ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการใช้และดูแลทรัพยากรจากพืชในโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ.