ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ปริศนาหลุมยุบลึกลับที่ไซบีเรียโผล่ไม่หยุด

🔘ปริศนาไซบีเรียเข้มข้น"หลุมลึกลับ"โผล่ไม่หยุด  หลุมลึกลับโผล่ไซบีเรียต่อเนื่อง ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุได้ คาดอาจเกิดปฏิกิริยาบางอย่างใต้พื้นดิน
ปริศนาเกี่ยวกับหลุมยุบขนาดยักษ์ที่ปรากฏขึ้นในเขตไซบีเรีย สร้างความฉงนใจให้กับนักวิทยาศาสตร์มาตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ยังไม่ทันที่จะไขความลับของปรากฏการณ์นี้ได้ว่าเกิดจากอะไร ล่าสุดมีผู้พบหลุมยุบมหึมาในลักษณะเดียวกันอีกแล้วถึง 2 หลุม ในพื้นที่เขตไซบีเรีย

หลุมยักษ์ทั้งสองหลุมค้นพบโดยคนเลี้ยงกวางเรนเดียร์ ในพื้นที่ทางภาคเหนือของไซบีเรีย ตั้งอยู่ห่างจากกันคนละทิศละทาง โดยหลุมแรกมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรยามัล เขตที่ผืนดินและผืนน้ำเป็นน้ำแข็งตลอดทั้งปี เนื่องจากอยู่ใกล้กับขั้วโลกเหนือ และยังเป็นพื้นที่เดียวกับที่พบหลุมแรก
ส่วนหลุมที่ 2 ที่ค้นพบใหม่ในเวลาไล่เลี่ยกัน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 15 ม. อยู่ในคาบสมุทรไทมูร์ ทางตะวันออกของเขตไซบีเรีย จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ไซบีเรียน ไทมส์

ทั้งคู่อยู่ห่างจากกันเพียงไม่กี่ร้อยกิโลเมตร และมีลักษณะคล้ายกัน คือปากหลุมเป็นรูปกลม ที่ขอบหลุมมีเศษดินกองไว้เหมือนถูกขุดขึ้นมา เบื้องต้นนักวิทยาศาสตร์คาดว่าทั้งสองหลุมมีความลึกราว 60-100 ม. 
วงรอบเฉลี่ย 4 ม.

การค้นพบครั้งนี้ยิ่งตอกย้ำความงุนงงสับสนกับสาธารณชนที่พากันร่ำลือถึงที่มาที่ไป แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่อาจพบคำตอบที่แน่ชัดได้ จนลือกันไปว่าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของโลก หรือถูกอุกกาบาตพุ่งชน หรือบ้างก็ลือกันไปว่าอาจเป็นฝีมือของมนุษย์ต่างดาวเลยทีเดียว
ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ของสถาบันเขตหนาวของโลก (IEC) ที่สำรวจหลุมแรกความลึก 70 ม. ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค. ก็ยังมืดแปดด้าน โดย มารีนา ไลบ์มาน ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวกับสำนักข่าว URA.RU ว่า แม้ในขณะนี้จะยังไม่สามารถสรุปได้ แต่เชื่อว่าการปรากฏตัวของหลุมยักษ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยไขข้อมูลเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ทีละน้อยๆ

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุดเท่าที่ทราบจากการลงไปสำรวจที่ก้นหลุมแรกก็คือ ที่ก้นหลุมเป็นทะเลสาบใต้ดินที่เย็นจัดจนเป็นน้ำแข็ง แต่ก็ไม่มีเค้ามูลอะไรอีก ได้แต่เก็บตัวอย่างดินและน้ำแข็งมาตรวจสอบ
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญรายอื่นๆ ก็พยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ว่า อาจเกิดจากการหลอมละลายของธารน้ำแข็งใต้ผืนดิน ที่ปกติแล้วจะอยู่ในจุดเยือกแข็งชั่วกาล เนื่องจากใกล้ขั้วโลกเหนือ แต่อาจเกิดปฏิกิริยาบางอย่างทำให้ธารน้ำแข็งละลายลง ปลดปล่อยก๊าซธรรมชาติที่อยู่ลึกลงไปอีกชั้นออกมา กลายเป็นพลังทะลุทะลวงผืนดินจนเป็นหลุมใหญ่
ที่มา : หนังสือพิมพ์ M2F

รายการบล็อกของฉัน