🌇พบ “ถ้ำยักษ์”
ใต้พื้นผิวดวงจันทร์องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ประกาศยืนยันการตรวจพบถ้ำที่มีความยาวถึง 50 กิโลเมตร ใต้พื้นผิวของดวงจันทร์
ใต้พื้นผิวดวงจันทร์องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น ประกาศยืนยันการตรวจพบถ้ำที่มีความยาวถึง 50 กิโลเมตร ใต้พื้นผิวของดวงจันทร์
ค้นหา
Custom Search
สำนักงานสำรวจอวกาศญี่ปุ่น หรือ “แจ็กซ่า” เผยข้อมูลจากยานสำรวจดวงจันทร์ “เซลีน” (SELENE) ซึ่งพบถ้ำขนาดความยาว 50 กิโลเมตร กว้าง 100 เมตร เชื่อว่าเป็นทางใต้ดินของหินหลอมละลาย ที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟเมื่อประมาณ 3 พัน 500 ล้านปีก่อน โดยการค้นพบครั้งนี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสารวิทยาศาสตร์
“จีโอฟิสิกคัล รีเสิร์ช เลตเตอร์ส”
(Geophysical Research Letters)
ข้อมูลดังกล่าวได้ยืนยันถึงการมีอยู่ของช่องลาวาไหลผ่านขนาดใหญ่ในเขตภูเขามาเรียสอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดบนดวงจันทร์ เมื่อหลายล้านปีก่อนที่ลาวาทะลักสู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ ได้เกิดโครงข่ายทางไหลหลายช่อง จนทำให้เกิดช่องถ้ำกลวงเปล่าที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน
การค้นพบครั้งใหม่นี้ เกิดขึ้นจากทีมนักวิจัยที่ประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์จาก “นาซา” และ “แจ็กซา” โดยใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากดาวเทียม “เซลีน” ของญี่ปุ่น และดาวเทียมแฝด “เกรล” (Grail) ที่ยืนยันการมีอยู่ของช่องลาวาไหล ซึ่งในขณะที่รวบข้อมูลจากดาวเทียมเซลีน
ทีมวิจัยพบลักษณะรูปแบบเสียงก้องรอบพื้นที่ “ภูเขามาเรียส” นั้นทำให้เชื่อว่าจะมีช่องลาวาไหลใต้ภูเขามากกว่านี้อีกนักวิจัยอาวุโสของ
แจ๊กซา กล่าวว่า ถ้ำดังกล่าว อาจเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับใช้เป็นฐานสำรวจบนดวงจันทร์ เนื่องจากโครงสร้างของถ้ำมีความมั่นคง สามารถป้องกันนักบินอวกาศจากรังสีคอสมิกที่อันตราย รวมถึงอุณหภูมิที่แตกต่างกันสุดขั้วระหว่างตอนกลางวันและกลางคืนของดวงจันทร์ โดยอุณหภูมิบนดวงจันทร์สูงถึง 106 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน แต่ต่ำถึง ลบ 153 องศาเซลเซียสในเวลากลางคืน
ที่ผ่านมา ไม่มีมนุษย์คนใดสามารถอยู่บนพื้นผิวดวงจันทร์ได้นาน
กว่า 3 วัน ด้วยเหตุหลายปัจจัย
แต่เหตุผลสำคัญที่สุดคือ ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศเหมือนโลก นั้นทำให้ดวงจันทร์ได้รับรังสีคอสมิก อุณหภูมิที่ไม่แน่นอน ประกอบกับความเสี่ยงที่จะเผชิญอุกกาบาตหลายขนาดพุ่งใส่ ช่องลาวาไหลใต้ดินจึงกลายเป็นทางเลือกสุด ที่เหมาะที่จะทำสถานที่หลบภัย
ซึ่งจะปกป้องนักบินอวกาศ ส่วนจำนวนช่องใต้ดินนั้นยังไม่สามารถบ่งชี้ชัดได้ ซึ่งยังคงต้องศึกษาต่อเพื่อทำแผนที่โครงข่ายอุโมงค์ใต้ดิน แต่หากข้อมูลที่รวบรวมนั้นถูกต้อง ถ้ำใต้ดินนี้จะกลายเป็นชุมชนที่มีขนาดเทียบเท่ากับเมืองใหญ่สุด
ของสหรัฐฯ