กาฬโรคระบาดในยุโรป
(ล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปกว่าครึ่ง)
(ล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ไปกว่าครึ่ง)
เป็นเหตุการณ์โรคระบาดที่ร้ายแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ (กาฬโรค) โดยเริ่มเกิดขึ้นในแถบตะวันตกเฉียงใต้ และตอนกลางของเอเชีย และแพร่กระจายเข้าไปที่ยุโรป มียอดผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกรวมแล้วประมาณ 75 ล้านคน และในจำนวนประมาณ 20 ล้านคนเกิดขึ้นที่แถบยุโรปเท่านั้น จากเหตุการณ์ กาฬโรคระบาดในยุโรปทำให้ชาวยุโรปเสียชีวิตไปร่วม 2/3 ของประชากรชาวยุโรปทั้งหมด
นับตั้งแต่ปี 1700 มีความพยายามที่จะหยุดยั้งโรคระบาดนี้ในทุกทาง ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน และดูเหมือนว่าโรคนี้จะหายไปจากยุโรปราวช่วง ศตวรรษที่ 18
นับตั้งแต่ปี 1700 มีความพยายามที่จะหยุดยั้งโรคระบาดนี้ในทุกทาง ไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน และดูเหมือนว่าโรคนี้จะหายไปจากยุโรปราวช่วง ศตวรรษที่ 18
กาฬโรคระบาดในยุโรปส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อประชากรชาวยุโรป และเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชาวยุโรปไปอย่างสิ้นเชิง เช่น มันจู่โจมไปถึงวิหารโรมัน คาทอลิก ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศาสนจักรในสมัยนั้น ส่งผลให้มีการล่าสังหารพวกชนกลุ่มน้อยไปทั่วทุกสารทิศ อย่างเช่นพวก ยิว มุสลิม ชาวต่างชาติ ขอทาน ผู้เป็นโรคเรื้อน ฯลฯ
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทัศนะคติของชาวยุโรปในยุคนั้น ว่าอย่างน้อยวันนี้ต้องเอาชีวิตให้รอดให้ได้
กาฬโรค มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย เยอซิเนีย แพสทิซ (Yersinia pestis) ซึ่งแพร่ระบาดอยู่ในสัตว์จำพวกหนู (Rodent) ในแถบตอนกลางของเอเชีย แต่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าเป็นที่ใด ที่เริ่มมีการระบาดร้ายแรงในช่วงศตวรรษที่ 14 ทฤษฎีหนึ่งที่น่าเชื่อถือ กล่าวไว้ว่า ในทุ่งกว้างแถบเอเชีย ประมาณช่วงตอนบนของประเทศจีน จากที่นั่นเดินทางมาจากทั้งทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตกทาง ไปตามเส้นทางสายไหม (Silk Road) ซึ่งพวกกองทัพและพ่อค้ามองโกล สามารถใช้เส้นทางการค้านี้ได้ฟรี จากบารมีของราชอาณาจักรมองโกล (Mongol Empire) ภายใต้สนธิสัญญาแพค มองโกลลิกา (Pax Mongolica) ที่จะรับรองความปลอดภัย ซึ่งมีคำเปรียบเปรยไว้ว่า "แม้หญิงใดเดินเปลือยกายผ่านเส้นทางนี้ก็จะปลอดภัย แม้ชายใดถือทองคำ ใส่กระจาดทูนไว้บนหัวก็จะไม่ถูกปล้น”
รัฐบาลของยุโรปไม่มีนโยบายที่แน่ชัด ในการรับมือกับปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อกาฬโรค เพราะว่าไม่มีใครรู้สาเหตุของการแพร่ระบาด พวกผู้มีอำนาจปกครองส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีห้ามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค กวาดล้างตลาดมืด ควบคุมราคาธัญพืช และการหาปลาบริเวณกว้างแบบผิดกฎหมาย ความพยายามต่างๆ นาๆนี้ส่งผลกระทบไปถึง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อย่างเช่น อังกฤษไม่สามารถนำเข้าธัญพืชจากฝรั่งเศสได้ เพราะฝรั่งเศสระงับการส่งออก อีกทั้งยังผู้ผลิตส่วนมากไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้เต็มที่ เพราะว่าขาดแคลนแรงงาน ซ้ำร้ายผลผลิตที่เตรียมส่งออกแต่ถูกระงับ ก็ถูกปล้นสะดมโดยพวกโจรสลัด และหัวขโมยที่จะเอาไปขายต่อในตลาดมืด ในขณะเดียวกัน ประเทศที่ค่อนข้างใหญ่อย่างอังกฤษ และสก็อตแลนด์ก็ตกอยู่ในช่วงภาวะสงคราม และต้องใช้งบประมาณจำนวนมากไปกับการรับมือ ปัญหาสินค้าราคาสูง
กาฬโรคไม่เพียงแต่ทำให้ประชากรล้มตายราวใบไม้ร่วง จนกระทั่งจำนวนประชากรโดยเฉลี่ย ลดลงเท่านั้น แต่มันยังส่งผลทางโครงสร้างเศรษฐกิจที่ผิดคาดอีกด้วย
นักประวัติศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ เฟอร์นัล บรูเดล (Fernand Braudel) ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ระหว่างภายหลังศตวรรษที่ 14 กับช่วงศตวรรษที่ 15 ศาสนจักรเสื่อมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชน และทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป
นักประวัติศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ เฟอร์นัล บรูเดล (Fernand Braudel) ได้ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ไว้อย่างน่าสนใจว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ระหว่างภายหลังศตวรรษที่ 14 กับช่วงศตวรรษที่ 15 ศาสนจักรเสื่อมอำนาจลง ผู้ดำรงตำแหน่งทางสังคมเปลี่ยนจากพวกศาสนจักร เป็นสามัญชน และทำให้เกิดการประท้วงของชนชั้นสามัญไปทั่วทั้งยุโรป
ยุโรปก่อนหน้านี้เคยประสบปัญหาภาวะประชากรล้นเมือง มีความเห็นว่าจากเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ ทำให้ประชากรลดลงราว 30%-50% ส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น มีที่ดินและอาหารเพียงพอจัดสรรให้ชนชั้นสามัญ แต่ว่า ความเห็นนี้ยังเป็นประเด็นที่ต้องถกเถียงกันอยู่ เพราะว่าประชากรชาวยุโรป เริ่มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1420 จนกระทั่งเริ่มเพิ่มขึ้นอีกทีในปี 1470 ดังนั้นเหตุการณ์ เดอะ แบล็กเด็ธ จึงยังไม่มีเหตุผลสนับสนุนที่มีน้ำหนักพอ กับประเด็นที่ว่ามีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจพัฒนาขึ้นหรือไม่