ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ครบ 132 ปี การระเบิดครั้งร้ายแรงที่สุดของ ภูเขาไฟกรากาตัว

ครบ 132 ปี การระเบิดครั้งร้ายแรงที่สุดของ ภูเขาไฟกรากาตัว
กรากาตัว การระเบิดของภูเขาไฟขนาดยักษ์ที่ใกล้ไทยที่สุดในยุคสมัยของเรา
ตำแหน่งที่ตั้งของกรากาตัว 

เมื่อ 26-27 สิงหาคม พ.ศ.2426 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เกิดมีการระเบิดครั้งใหญ่ของภูเขาไฟในประเทศอินโดนีเซีย และเหตุการณ์นี้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เคยถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์หลายครั้ง  นั่นคือการระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัวในประเทศอินโดนีเซีย
ภูเขาไฟกรากาตัวตั้งอยู่บนเกาะกรากาตัว ซึ่งอยู่ระหว่างเกาะสุมาตราและเกาะชวา
ในปี พ.ศ.2426 ภูเขาไฟกรากาตัวเริ่มมีการระเบิดครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม หลังเงียบสงบมานาน พ่นเถ้าถ่านจำนวนมากขึ้นสู่ทท้องฟ้า สมัยนั้นยังไม่มีการตั้งระดับสัญาณเตือนภัยเป็นระดับชั้นต่างๆหรือมีการตรวจสอบว่าถึงเวลาอพยพหรือไม่เหมือนสมัยนี้
กรากาตัวระเบิดรุนแรงขึ้นอีกครั้งในวันที่ 26 สิงหาคม ครั้งนี้ส่งเสียงดังและแสงสว่างไปไกลจนคนบนเรือที่ลอยห่างเกาะถึง 16 กิโลเมตรสามารถมองเห็นได้ หลายคนเริ่มอพยพไปห่างเกาะ แต่ก็มีส่วนหนึ่งที่คิดว่าจะไม่เกิดอะไรร้ายแรงกว่านี้  จึงยังไม่หนีไปไหน
ภาพแสดงเส้นทางของหินเหลวและแก้สร้อนหรือ Pyroclastic และคลื่นสึนามิ จากการระเบิดของกรากาตัวในปี พ.ศ.2426 
ในวันต่อมาคือ 27 สิงหาคม ภูเขาไฟกรากาตัว ระเบิดครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของภูเขาไฟลูกนี้ สร้างคลื่นสึนามิสูงถึง 30 เมตร (สึนามิระลอกแรกเกิดช่วง เช้ามืด ราวๆ 05:30 คลื่นตรงไปทางเมืองบันดา ลัมปุง) กระแสหินเหลวและแก้สร้อนหรือ Pyroclastic Flow ไหลไปไกลถึงอีกหลายเมืองชายฝั่งของสุมาตราและเกาะชวา พื้นที่ร้อยละ 65.52 ของเกาะกรากาตัวกลายเป็นเถ้าธุลีลอยสูงขึ้นไปถึง 80 กิโลเมตร เสียงจากการระเบิดดังมากถึงขนาดคนที่นอนหลับอยู่ในประเทศออสเตรเลียและอินเดีย ซึ่งอยู่ไกลออกไปเกือบ 3,000 กิโลเมตร ก็ยังตกใจตื่น และมีบันทึกว่าผู้คนที่อาศัยบนเกาะโรดริเกซซึ่งอยู่ห่างจากกรากะตัวถึง 4,776 กิโลเมตรก็ได้ยินเสียงระเบิดนี้

เครื่อง barograph สถานีต่างๆในยุคนั้น สามารถตรวจจับแรงอัดอากาศจากการระเบิดนี้ได้ทั่วโลก  ผู้คน 3,000 คนในเกาะที่ใกล้การระเบิดที่สุดคือเกาะ Sebesi ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต  ผู้คนอีกนับพันชายฝั่งสุมาตราต้องเสียชีวิตเพราะกระแสหินเหลวและแก้สร้อน และคลื่นสึนามิหลายระลอกยังฆ่าคนอีกจำนวนมหาศาล รวมแล้วมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้มากกว่า 36,400 คน

เถ้าเขม่าจำนวนมหาศาลรวมทั้งซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 ที่พ่นขึ้นสู่บรรยากาศโลกชั้นบน นอกจากบดบังแสงอาทิตย์แล้วยังไปทำปฏิกิริยากับเมฆชั้นเซอรัส ก่อให้เกิดปรากฏการณ์สะท้อนกลับของแสงอาทิตย์หรือ albedo effect ทำให้อุณหภูมิทั่วโลกในปีนั้นเย็นลงถึง  1.2 °C และความผิดปกติต่างๆของภูมิอากาศยังดำเนินติดต่อกันมาอีกหลายปี ตั้งแต่ฝนตกผิดฤดูในอเมริกา เกิดแสงสีแปลกยามอาทิตย์ใกล้ลับฟ้าในประเทศต่างๆของทวีปยุโรป และอื่นๆ

สำหรับในประเทศไทยได้มีบันทึกของพระองค์เจ้าดิศวรกุมารที่ต่­อมาทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เ­ธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวถึงผลกระทบของก­ารระเบิดของภูเขาไฟกรากาตัวว่า ขณะนั้นผนวชอยู่ที่­วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร ได้ยินเสียงระเบิดของภูเขาไฟอย่าง­ชัดเจนหลายครั้ง ผู้คนส่วนใหญ่ในกรุงเทพเวลานั้นข้าใจว่า­เป็นเสียงปืนใหญ่เพราะกำลังมีความตึงเครียดกับฝรั่งเศส และยังทำให้ท้องฟ้าเป็นสีเขียวตลอดทั้งวัน­ในวันต่อมา สร้างความประหลาดใจให้กับประชาชนคนไทยเป็นอย่าง­มาก

รายการบล็อกของฉัน