ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ที่มาของคลองแสนแสบ

คลองแสนแสบในสมัยโบราณ
คลองแสนแสบ
คลองแสนแสบในช่วงกรุงเทพมหานครถูกล้อกันว่าน้ำเน่าขนาดที่ว่าถ้าใครตกลงไปแล้วจะต้องแสนแสบสมชื่อคลองคลองแสนแสบ ถือว่าเป็น คลองขุดที่มีความยาวที่สุดของประเทศไทย คือยาวถึงเกือบ 90 กิโลเมตร เป็นคลองที่เชื่อมต่อจากคลองมหานาคตรงบริเวณตลาดโบ๊เบ๊ไปทางทิศตะวันออก จนไปทะลุออกแม่น้ำบางปะกงที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยแบ่งออกเป็นช่วงใหญ่ๆ ได้ 2 ช่วง คือ คลองแสนแสบช่วงต้น เริ่มจากจุดที่เชื่อมกับคลองมหานาคไปจนถึงหัวหมาก และคลองแสนแสบช่วงปลาย ซึ่งเริ่มจากหัวหมากไปออกแม่น้ำบางปะกง

สันนิษฐานกันว่าคลองแสนแสบช่วงต้นน่าจะถูกขุดขึ้นหลังจากที่ได้ขุดคลองมหานาคในสมัยรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แล้ว แต่จะเป็นช่วงเวลาใดยังไม่แน่ชัด ส่วนคลองแสนแสบช่วงปลายพบหลักฐานว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว 
(รัชกาลที่ 3) โปรดเกล้าฯ ให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการขุดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2380 เพื่อเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง ใช้ขนส่งไพร่พล ยุทโธปกรณ์ และเสบียงอาหารในสงครามระหว่างไทยกับเวียดนาม หรือที่เรียกกันว่า อันนัมสยามยุทธ

การขุดคลองเริ่มตั้งแต่หัวหมากไปจนถึงบางขนาก เป็นระยะทาง 1,337 เส้น 19 วา 2 ศอก ลึก 4 ศอก กว้าง 6 ศอก และแก้คลองพระโขนงไปพร้อมกันด้วย สิ้นเงินไปทั้งหมด 1,206 ชั่ว 13 ตำลึง 2 บาท 1 สลึง 1 เฟื้อง ขุดอยู่จนถึงปี พ.ศ.2383 ก็เสร็จเรียบร้อย เรียกคลองที่ขุดขึ้นใหม่นี้ว่า คลองบางขนาก หรือคลองแสนแสบช่วงปลายหลังสงครามระหว่างกรุงเทพมหานครกับญวนสงบลง ริมสองฝั่งคลองนี้ได้มีชาวบ้านมาทำไร่ทำนากันเป็นจำนวนมาก เพราะว่าสามารถเดินทางไปมาระหว่างกรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา และต่อไปถึงปราจีนบุรีได้อย่างรวดเร็ว ความสำคัญของคลองจึงเปลี่ยนจากเส้นทางยุทธศาสตร์ในการรบมาเป็นเส้นทางเศรษฐกิจและการค้าแทน

ส่วนที่มาของชื่อของคลองแสนแสบนั้น น่าจะมาจากสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่คลองนี้ไหลผ่าน ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มเต็มไปด้วยทุ่งหญ้า มีน้ำขังเจิ่งนองตลอดปี จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงแหล่งใหญ่ ทุ่งเหล่านี้มีอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งบางกะปิ ทุ่งคลองตัน ทุ่งมีนบุรี ทุ่งหนองจอก และจากหลักฐานสำคัญ คือ รายงานการเดินทางของ นาย ดี.โอ.คิง (D.O.King)นักสำรวจชาวอังกฤษแห่ง
กรุงลอนดอนมีความตอนหนึ่งที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมและความเป็นอยู่ของผู้คนแถบคลองแสนแสบนี้ว่า

"...คลองนี้มีความยาว 55 ไมล์ เชื่อมนครกรุงเทพฯ กับแม่น้ำบางปะกง ผ่านบริเวณที่ราบชนบท ซึ่งใช้สำหรับการเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะ คนพื้นเมืองเป็นคนเชื้อสายมาเลย์ เช่นเดียวกับชาวสยามอื่นๆ พื้นบ้านของคนเหล่านี้ทำด้วยไผ่ยกขึ้นสูงจากพื้นประมาณ 4 ฟุต เสื้อผ้าที่สวมใส่เป็นผ้ารัดเอวธรรมดาๆ และไม่ว่าพวกเขาจะทำอะไรอยู่ก็ตาม มือข้างหนึ่งจะต้องใช้ปัดยุงเสมอ..."
จากข้อความตามรายงานของนาย ดี.โอ.คิง นี้ก็น่าที่จะสนับสนุนความเชื่อที่ว่าบริเวณที่คลองแสนแสบไหลผ่านเป็นแหล่งยุงชุมจริงๆ ความเจ็บปวดของชาวบ้านหรือผู้สัญจรผ่านไปมาที่เกิดจากการถูกยุงกัด จึงเป็นที่มาของชื่อ "แสนแสบ" นั่นเอง

แต่ก็มีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า "แสนแสบ" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาเขมรว่า "แสสาบ"
เพราะในสมัยหนึ่งคนไทยเคยเรียกทะเลว่า "เส" หรือ "แส" ส่วนคำว่า "สาบ" เป็นภาษาเขมรแปลว่า "จืด" 
คำนี้คนไทยยืมมาใช้เรียกทะเลน้ำจืดว่า "ทะเลสาบ" อย่างที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้น "แสสาบ" 
หรือที่แปลว่าทะเลน้ำจืด อาจถูกนำมาใช้เรียกคลองน้ำจืดอันกว้างและ
ยาวแห่งนี้ แล้วเพี้ยนเสียงกลายมาเป็น "แสนแสบ" ตามกาลเวลาที่ผ่านไป ประกอบกับในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้กวาดต้อนเชลยศึกชาวเขมรมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ย่านบางกะปิเป็นจำนวนมาก ชาวเขมรจึงอาจเรียกคลองที่ไหลผ่านแหล่งชุมชนของตนด้วยภาษาเขมร แล้วเพี้ยนมาเป็นแสนแสบดังที่กล่าวไปแล้วสภาพของบ้านเรือนริมฝั่งคลองแสนแสบ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช (รัชกาลที่ 5) ได้โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมแก้ขนาดปากคลองจากเดิม ซึ่งกว้าง 6 วา เป็นกว้าง 8 วา กับให้มีสะพานโยงทั้งสองฝั่งคลอง ฝั่งคลองละ 6 ศอก 
เพื่อสนับสนุนการคมนาคมและการค้าขาย ทำให้ชุมชนริมคลองแสนแสบยิ่งขยายตัวอย่าง
รวดเร็วกว่าเดิมเนื่องจากคลองแสนแสบเป็นคลองหลักในการคมนาคมระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกงจึงมีการขุดคลองซอยแยกออกจากคลองแสนแสบเป็นจำนวนมาก เช่น คลองจั่น คลองกุ่ม คลองบางชัน คลองสามวา คลองตาหวาน คลองสิบสาม คลองสิบสี่ คลองสิบห้า คลองตัน คลองกะจะ คลองหัวหมาก คลองสะพานสูง คลองลาดบัวขาว คลองสี่ คลองบ้านเกาะ คลองนครเนื่องเขต เป็นต้น
ก่อนจบบทความนี้เรามาลองชม
เพลงความรักและการเสียใจแสนแสบ
ตำนานที่ทำให้คลองแสนแสบเป็นที่รู้จัก ของคนไทยแทบจะทุกคนก็คือเรื่อง แผลเก่า เรื่องราวความรักของ ไอ้ขวัญ - อีเรียม แห่งทุ่งบางกะปิ ความรักที่เกิดจากการ ด้วยอุปสรรค จนทำให้ต้องจบชีวิตด้วยการจมน้ำตายที่คลองแห่งนี้เช่นกันเรื่องราวของทั้งสองเป็นที่เล่าขานกันมาจนถึงปัจจุบัน มีการนำไปทำเป็นภาพยนตร์และละครอยู่หลาย
ต่อหลายครั้ง

แต่คลองแสนแสบในปัจจุบันไม่ได้เป็นที่น่าประทับใจแบบนั้นอีกแล้วโดยเฉพาะคลองแสนแสบในช่วงเขตกรุงเทพมหานครเนื่องจากเมื่อชุมชนริมคลองขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ท้องทุ่งต่างๆ ก็ถูกแทนที่ด้วยบ้านไปจนหมดสิ้น และยิ่งนานวันเข้า สภาพบ้านเรือนก็ยิ่งแออัด รวมกับความมักง่ายของคนจึงก็ทำให้คลองแสนแสบเต็มไปด้วยขยะและสิ่งปฏิกูลน้ำในคลองเน่าเหม็นจนไม่สามารถนำไปใช้อุปโภคบริโภคได้อีกต่อไปความเน่าเหม็นของคลองแสนแสบเป็นที่โจษจันกันอย่างมากเพราะแม้กระทั่งปลาหรือสัตว์น้ำเองก็แทบจะทนอยู่ในคลองนี้ไม่ได้

การคมนาคมทางเรือในคลองแสนแสบสามารถย่นย่อเวลาที่ต้องเสียไปบนท้องถนนได้มากทีเดียวคลองแสนแสบในกรุงเทพมหานครดูจะมีประโยชน์ที่ชัดเจนเพียงอย่างเดียวในตอนนี้ก็คือใช้เป็นเส้นทางสัญจรทางน้ำด้วยเรือหางยาวประจำทางจากท่าเรือใต้สะพานผ่านฟ้าลีลาศบริเวณถนนราชดำเนิน ไปจนถึงท่าสุดท้ายที่วัดศรีบุญเรือง
ย่านบางกะปิ ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งเมื่อเทียบกับการสัญจรทางบกในชั่วโมงเร่งด่วนที่ต้องเสียเวลากว่า 2 ชั่วโมงแล้ว จึงนับว่าเป็นทางเลือกในการสัญจรไปมาที่ดีของคนกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

รายการบล็อกของฉัน