ค้นหา

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

10 ข้อที่เพื่อนๆไม่ควรทำบนโลกออนไลน์

10 ข้อที่เพื่อนๆไม่ควรทำบนโลกออนไลน์
ถึงแม้ว่าโซเชียลมีเดียร์ที่เราเล่นกันทุกวันจะสามารถตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานได้ แต่ก็ใช่ว่าจะปกป้องความเป็นส่วนตัวในการโพสต์เรื่องราวต่างๆ ได้ 100% เราจึงควรที่จะมีขอบเขตในการแบ่งปันเรื่องราวต่างๆบนโลกออนไลน์ไว้บ้าง

ขอนำเสนอสิ่งที่คุณไม่ควรทำบนโลกออนไลน์เพื่อนระวังอันตรายที่อาจมาในรูปแบบที่เราไม่เคยรู้จัก

10. โพสต์ตามอารมณ์
"การโพสต์ หรือทวีตระบายอารมณ์ตอนที่กำลังโกรธ เศร้า หรือเสียใจ อาจเป็นเพียงอารมณ์ชั่ววูบที่ทำให้เกิดผลเสียในภายหลัง เมื่อย้อนกลับมาอ่านตอนที่อารมณ์กลับมาดีแล้ว อาจทำให้คนรอบข้างมีทัศนคติไม่ดีเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ของผู้ใช้ก็เป็นได้."

9. การโพสต์โดยไม่สนใจนโยบายของโรงเรียน
"นโยบายหลายๆ โรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับศาสนา มักออกกฎสำหรับการใช้งานโซเชียลมีเดียของนักเรียน ที่ห้ามโพสต์เรื่องที่บิดเบือนไปจากหลักศาสนา หรือการโพสต์ที่อาจส่งผลกระทบต่อศาสนาและตัวสถาบันได้ ซึ่งหากพบเห็น อาจมีการลงโทษนักเรียนที่กระทำความผิด."

8. การคุกคามและความรุนแรง
"โพสต์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง การคุกคามผู้อื่น แม้ในโลกออฟไลน์จะไม่ได้กระทำเช่นนั้นก็ตาม แต่เมื่อมีคนได้อ่านอาจนำไปสู่ความกลัวและความไม่ปลอดภัย และอาจถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกตรวจสอบเรื่องดังกล่าว."

7. การโกหกหรือขโมยความคิดผู้อื่น
"การอัพเดตรูปภาพ ตั้งสเตตัสผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆ ว่าได้ไปสถานที่นั้นๆ พบเจอคนดัง หรือคัดลอกสเตตัส หรือบทความผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งการกระทำต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นเรื่องโกหก อาจส่งผลให้ตอนไปสมัครเรียน หรือทำงาน ที่หากมีการตรวจสอบอาจส่งผลกระทบต่ออนาคตได้."

6. เจาะจงสถานที่เช็คอินมากเกินไป
"การเช็คอินที่ระบุสถานที่แบบเจาะจงมากเกินไป ทั้งที่ผู้ปกครองอาจจะพอใจกับการกระทำแบบนี้ เพราะทำให้ทราบได้ตลอดว่าลูกของตนอยู่ที่ใด แต่อาจจะเป็นการเสี่ยงเกินไป เพราะอาจจะนำมาซึ่งความเสี่ยงของบุคคลแปลกหน้า ที่สามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน ซึ่งทำให้เกิดอันตรายก็เป็นได้."

5. โพสต์ข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนบุคคล
"การโพสต์ข้อมูลที่มีความเป็นส่วนตัวอย่าง ข้อมูลในบัตรประชาชน บัตรประกันสังคม เป็นต้น อาจเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมข้อมูล นำไปสู่การปลอมแปลงเอกสารและสวมรอยเป็นผู้ใช้แทน อาจเกิดความเสียหายทางด้านการเงินหรือปัญหาที่ไม่ขาดคิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต."

4. โพสต์สิ่งไม่เหมาะสมจากคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ตของโรงเรียน
"โรงเรียนหลายแห่ง มักมีกฎห้ามโพสต์กิจกรรม หรือสเตตัสใดๆ ที่ไม่เหมาะสมจากคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของโรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย ทั้งการดูหมิ่นเหยียดหยามผู้อื่น เรื่องราวลามกอนาจาร เป็นต้น หากมีการตรวจสอบเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ทางเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะตรวจสอบจากทาง IP address ซึ่งอาจส่งผลกระทบมายังสถาบันการศึกษาดังกล่าว."

3. โพสต์ว่าครู-อาจารย์
"การโพสต์หรือตั้งสเตตัสในแง่ลบเกี่ยวกับครู-อาจารย์ จะนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อการทำงาน หรือสมัครเข้าเรียนในอนาคต ทุกคนสามารถรับรู้ถึงความเห็นและทัศนคติของผู้ใช้ที่มีแต่ผู้สอน รวมถึงอาจมองสถาบันในแง่ลบ."

2. กลั่นแกล้ง
"การข่มขู่กลั่นแกล้ง ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่มักพบได้ในโรงเรียน โดยเฉพาะวัยรุ่นที่อ่อนไหวกับความรู้สึกง่ายๆ ทั้งจากเพื่อนที่ตั้งสเตตัสกลั่นแกล้ง และเมื่อโดนกลั่นแกล้งมากเข้า ช่องทางที่จะโต้ตอบกลับ หรือระบายความอัดอั้นที่เกิด คือ โซเชียลมีเดียเช่นกัน อย่างการตั้งสเตตัสบนเฟซบุ๊ก หรือเขียนบล็อก เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและอาจนำมาสู่ความรุนแรง อย่างการฆ่าตัวตาย เป็นต้น."

1. โพสต์กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
"วัยรุ่นถือเป็นวัยที่กำลังคึกคะนอง และอยากจะทดลองทำสิ่งใหม่ๆ แต่เมื่อใดที่โพสต์ภาพหรือกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำผิดกฎหมาย อย่างเช่น ถ่ายรูปทดลองเสพสารเสพติด เป็นต้น โดยถึงแม้ว่า จะตั้งค่าโพสต์ดังกล่าวไว้เป็นส่วนตัวแล้ว แต่ใครที่เป็นเพื่อนกับผู้ใช้ ก็สามารถบันทึกภาพหรือดาวน์โหลดวิดีโอไปเผยแพร่ต่อได้ อาจนำมาซึ่งความเสียหายได้."

รายการบล็อกของฉัน